การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของ พชอ. ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สมพงษ์ สุรักษ์, ส.ม.
รุจิรา อำพันธ์, ส.ม.

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของ พชอ. ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาในชุมชนได้รับการดูแลจากทางเจ้าหน้าที่รพ.สต. อสม. กู้ชีพ และผู้นำชุมชนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างเป็นอสม. กู้ชีพ และผู้นำชุมชน จำนวน 110 คน  ศึกษาระหว่าง วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Pair t- tast 


           ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.40 มีอายุเฉลี่ยที่ 55.07 ปี อายุน้อยสุด 28 ปี อายุมากสุด 74 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 79.10 ระดับการศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 69.2 เป็น อสม. ร้อยละ 82.70 กู้ชีพ ร้อยละ 9.10 และผู้นำชุมชน ร้อยละ 8.20 ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช ก่อนและหลังฝึกอบรม ของ กลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช เพิ่มขึ้นก่อนการอบรม(P-value<0.001) หลังอบรม(P-value<0.001)  พบว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง(S.D.=0.99.)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ความพึงพอใจในการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า หลังการอบรมมีความพึงพอใจในการพัฒนาระบบเครือข่ายด้านสัมพันธภาพกับบุคลากรในหน่วยงาน/การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน (   2.96, S.D. 0.188)  ด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีโอกาสเสนอแนะข้อคิดเห็นในการกำหนดนโยบาย การวางแผนการปฏิบัติงาน(   2.96, S.D. 0.188) และมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก (   29.57, S.D. 0.656)

Article Details

How to Cite
สุรักษ์, ส.ม. ส., & อำพันธ์, ส.ม. ร. (2024). การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของ พชอ. ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(4), p. 16–23. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3399
บท
บทความวิจัย

References

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี.(2565).การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรอง และดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จังหวัดเลย. วารสาร วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565.328 - 342.

จินตนา ยูนิพันธุ์.(2557).การปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้าสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางจิต. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ 28 ฉบับที่ 1เดือนมกราคม-เมษายน 2557.16 – 28.

ปกรณ์ จารักษ์.(2550).ประสิทธิผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิเวชในชุมชนโรงพยาบาล สร้างคอม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2550.1220 - 1230.

ประภาส อนันตา และจรัญญู ทองอเนก.(2555). ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน ในการเยี่ยมบ้าน ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2555. วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม – มีนาคม 2556. 1-8.

วรัญญา จิตรบรรทัด,พิมพวรรณ เรืองพุทธ,สุพัตรา สหายรักษ์ และวัฒนา วาระเพียง.(2560). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ประจําหมู่บ้านเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแล คนพิการสูงอายุในชุมชน.รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2560.1571 – 1577.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2567). ฐานข้อมูล Health Data Center:HDC.2566.[อินเตอร์เนต] [เข้าถึงเมื่อ 30กันยายน 2566] เข้าถึงได้จาก http://www.ssko.moph.go.th/.

อภิชาต อภิวัฒนพร.(2556). การพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพจิตและจิตเวช ในจังหวัด สกลนคร.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 21 ฉบับ ที่ 2 ปี 2556. 131-137

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.