ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของวัยกลางคนในเขตตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วีระ คันศร, ส.ม.
รุจิรา อำพันธ์, ส.ม.

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลอายุระหว่าง 40-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ คัดเลือกด้วยวิธี คำนวนขนาดตัวอย่างจำนวน 123 คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง 1 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงแก้ไขจากแบบสอบถามของ ชนัญญา ปัญจพล ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัยการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุเท่ากับ 0.736 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน และเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และ75 วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-square Test และ Fisher’s Exact test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
             ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้านร่างกาย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 55.28, 49.59 และ 44.72 ตามลำดับ และการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการเตรียมความพร้อมอยู่ระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 48.78, 49.59 และ 44.72 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (p-value = 0.087, 0.101, 0.240, 0.356, 0.200, 0.634, 0.734, 0.116, 0.070, 0.098, 0.404, 1.000, 0.502, 0.074, 0.888, 0.108 และ 0.287 ตามลำดับ) อาจจะมีปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่น ศาสนา การมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง รูปแบบการอยู่อาศัย เป็นต้น
          ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ควรมีการสนับสนุนให้มีการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ เพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ ร่วมถึงส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และการออมเงิน เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริช เกียรติญาณ,ธนัสถา โรจตระกูล.(2564). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

เกื้อวงศ์ บุญสิน.(2560).การคาดการณ์ประชากรไทยในอนาคต.สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.[เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.slideshare.net/Klangpanya/ss-95771145.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2567). 93 วันสู่สังคม"คนชรา" 5 จังหวัดคนแก่เยอะสุด-น้อยสุด.[เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2567).การพักผ่อนให้เพียงพอและการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ช่วยวัยเก๋าหลับสนิทเต็มตื่น. [อินเทอร์เน็ต].2567 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh. go.th/news-dmh/view.asp?id=27990.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2567).3 เดือน "งดเหล้าเข้าพรรษา".[อินเทอร์เน็ต].2567.[เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29823.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(ม.ป.ป.). (2561).ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ.[อินเทอร์เน็ต].2561.[เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: https://pri.moph.go.th/services/people/healthknowledge/27-elderlypeople

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2562).สร้างจิตใจที่แจ่มใสให้ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม.[อินเทอร์เน็ต].2562.[เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/social-activities-for-elders.

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ(2563). กรมกิจ การผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(ม.ป.ป).เติมรู้เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. การวางแผนการใช้ชีวิตและการวางแผนไม่ให้เกิดความวิตกกังวล.[อินเทอร์เน็ต].2563.[เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go. th/download/knowledge/th1568708302-257_0.pdf

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์สุขภาพแนวหน้ารามาธิบดี.(2563). โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ป้องกันได้ด้วยตนเอง. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต].2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://med.

mahidol.ac.th/frontier/th/kmfever

งานควบคุมโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนยาง.(2566).สถิติโรคที่พบในผู้สูงอายุในตำบลเขินและแนวโน้มการเกิดโรค; 2567.

จิราภรณ์ กันทะวี และ คณะ(2563).การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุในเขตเทศบาลบ้านดู่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้https://fit.ssru.ac.th/useruploads/files/20200629/dea42ac21a02bd6a5b9e08555735c6a03739ce10.pdf.

ชนัญญา ปัญจพล. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(ส่วนกลาง).[อินเทอร์เน็ต].2558 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5505030121_4744_3608.pd.

ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง และคณะ.(2563).การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากร ในเขต อำเภอเมือง จังหวังสุรินทร์.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์.

ดลนภา ไชยสมบัติ,บัวบาน ยะนา.(2562).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของ ประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.

ทรงศักดิ์ เสนานุช, ภุชงค์ รักพ่วง.(2562). ความสำคัญต่อสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย. นวัตกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ. คณะสังคมสังเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562.

ประกาย จิโรจน์กุล และคณะ.(2560). การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายของผู้ใหญ่ในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาสวนดุสิต และสาธารณสุขศาสตร์]. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2560.

ภรณี ภู่ประเสริฐ.(2561). ”ชาญชรา60 มุ่งสู่ ...สังคมสูงอายุอย่างเข้าใจ”สร้างเสริมสุขภาพจิต[อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/44114-ชาญชรา%2060%20มุ่งสู่สังคมสูงอายุอย่างเข้าใจ.html.

ภาณุวัฒน์ มีชนะ และคณะ(2560).การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุวัลดา ชูรักษ์.(2560). การเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง. สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.