การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อที่ที่มีความสำคัญ ส่วนใหญ่มักเกิดพยาธิสภาพที่ปอด แพร่กระจายได้ในอากาศผ่านการไอ จาม หรือพูด ผู้ที่สูดอากาศที่ปนเปื้อนวัณโรคเข้าไปมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ประกอบด้วย 1) การประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 2) อบรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้แก่ ญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วย และ อสม. 3) การดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วย และ อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4) การกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรคโดยญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วย 5) การสื่อสารระหว่างญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผ่านระบบออนไลน์ทุกวัน 6) ประเมินค่าคะแนนความรู้ พฤติกรรม และทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค 7) ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข 8) คืนข้อมูลสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค 62 คน มีคะแนนความรู้เรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) คะแนนพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ทัศนคติการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ทัศนคติการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value < 0.001) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การพัฒนาศักยภาพญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย วัณโรค โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นผู้ติดตามกำกับการกินยาและสอบถามอาการผู้ป่วย ผ่านญาติผู้อาศัยร่วมบ้านทุกวัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค, ก. (2567). สถานการณ์และการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย. กองวัณโรค กรมควบคุมโรค.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2563). การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง สำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug-resistant TB: XDR-TB). [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/2gNuo.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2565). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 - 2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2565). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
คณะอนุกรรมการป้องกันควบคุมโรควัณโรค. (2564). แผนยุทธศาสตร์แผนงานยุติปัญหาโรควัณโรค ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) ของเขตสุขภาพที่ 7.
จินตนา งามวิทยาพงศ์ยาไน และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือของหลายภาคส่วน เพื่อยุติวัณโรค ในเขตเทศบาลเมืองและอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (ปีที่ 1). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ชเลวัน ภิญโญโชติวงศ์. (2561). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 14(2), 1-10.
ณฐกร จันทนะ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, & พรรณวดี พุธวัฒนะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 25(3), 296-309.
ทศพร เจริญจิต. (2564). การสอบสวนวัณโรคดื้อยาในพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 110-124.
ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์. (2557). ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรคดื้อยาหลายขนานและระยะเวลา
เริ่มรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทย. [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, & วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. (2542). วัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) คุกคามประเทศไทยจริงหรือ: ผลการทบทวนรายงานการวิจัย 55 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2511 - 2541. [รายงานการทบทวนเอกสารทางวิชาการ]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
เพชรวรรณ พึ่งรัศมี. (2561). สถานการณ์วัณโรคประเทศไทย 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/kqzM6.
ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ และคณะ. (2561). การประเมินประสิทธิผลการใช้ระบบ CARE-call ในการติดตามการรับประทานยาเพื่อเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและลดอัตราการขาดยาวัณโรค. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2562). แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์.
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาวัณโรคดื้อยาตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อ สมาคมโรคทรวงอกประเทศสหรัฐอเมริกาและสมาคมโรคทางเดินหายใจในสหภาพยุโรป ปี พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A919.html.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2560). การสำรวจความชุกของวัณโรคระดับชาติในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555-2556. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สุชาติ ทองแป้น. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
วัณโรคปอด. วารสารกรมการแพทย์, 43(6), 50-56.
อภิญญา นาคะพงศ์. (2564). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2561-2563. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 11(2), 273-289.
Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery, instruction and curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1. Evaluation comment, 1(2), n2.
World Health Organization. (1989). Guidelines for the safe use of wastewater and excreta in agriculture and aquaculture: Measures for public health protection. Geneva: World Health Organization.
World Health Organization (WHO). (2020). Global tuberculosis report 2020. [อินเทอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/wmx57.
World Health Organization. (2023a). Global tuberculosis report 2023.
World Health Organization. (2023b). Global tuberculosis report 2023: Fact sheet.
World Health Organization. (2023c, November 7). Tuberculosis fact sheet. Retrieved March 3, 2024, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis.