การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มีนาคม – กรกฎาคม 2567 รวม 20 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยป่วยโรคมาลาเรีย และภาคีเครือข่ายตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล เคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 1.การวางแผนมีเป้าหมาย ร่วมกับภาคีเครือข่ายปลอดจากการแพร่เชื้อมาลาเรีย ในปี 2571 การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก การเฝ้าระวังและป้องกันโรคในยุงที่พาหะในชุมชน การมอบหมายภาระกิจ หน่วยงานราชการ อปท.ภาคีเครือข่าย ในรูปแบบคณะกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลและภาคเอกชน 2.การอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย ในการแจ้งเตือน สอบสวน และตอบโต้ในสถานการณ์เกิดโรคมาลาเรีย โดยมีพี่เลี้ยง จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศรีสะเกษและ สคร.10 สนับสนุนด้านวิชาการ 2.1 การประสานงาน เพิ่มศักยภาพทีมการเสนองบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ไปยังทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่ เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ ในการให้บริการเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน 2.2 การร่วมมือการป้องกันและควบคุมยุงพาหะครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร โดยพ่นกระท่อมหรือที่พักด้วยสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้าง (Indoor Residual Spray: IRS) แจกมุ้งชุบสารเคมีชนิดมีฤทธิ์คงทนยาวนาน (LLIN) แจกยาทากันยุงให้ครอบคลุมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ในการแจ้งเตือนสำหรับผู้มาประกอบอาชีพในพื้นที่เสี่ยง 3.การสังเกต การ การติดตาม โดยการให้บริการ เจาะเลือดด้วยชุดตรวจ RDT การตรวจจับการแจ้งข่าวในรูปแบบ แอพพลิเคชั่นไลน์ กระตุ้นเตือน แจ้งข่าวผู้มีอาการป่วยคล้ายโรคมาลาเรีย การเก็บสถิติในรอบปีเพื่อวางแผนพัฒนารูปแบบงานป้องกันโรคมาลาเรีย 4.สะท้อนผล การสรุปตามภาระกิจ หน่วยงาน อปท.ภาคีเครือข่าย ในรูปแบบคณะกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เพื่อหารูปแบบในการพัฒนาและขับเคลื่อนงานให้ยั่งยืน และคืนข้อมูลให้ชุมชนรับทราบ เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนในระดับต่างๆ ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจและวางแผน ก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05 ) 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3)ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค.(2566). สรุปรายงานการเฝ้าระวัง. กรุงเทพฯ : รายงานสถานการณ์โรคติดต่อ นำโดยแมลงประจำปี 2566.
สุธีรา พูลถิน.(2566). การพัฒนารูปแบบการเร่งรัดกําจัดโรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงสูง กรณีศึกษา : อําเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566.
ศูนย์ระบาดวิทยา.รายงาน506.(2566). โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2566.
เอกราช พันธุลี และอารี บุตรสอน. (2565).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดเชื้อมาลาเรียของประชาชนในเขตอำเภอชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา จังหวัดอุบลราชธานี วารสารสาธารณสุขมูลฐาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 2565.
ประเสริฐ สุระพล, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และ รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. (2562). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม–มีนาคม2562.
กองโรคติดต่อนําโดยแมลง. (2562). แนวทางการปฏิบัติ งานกําจัดโรคไข้มาลาเรียสําหรับบุคลากรทางแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2562.
Mason, M. (2010). Sample size and saturation in PhD studies using qualitative interviews. Forum: Qualitative Social Research, 11(3).
Patton, M. Q. (2002). Qualitative Research and Evaluation Methods (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.