การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตร ตำบลคอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์และรูปแบบการดูแลสุขภาพ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ และ 3) ผลจากการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตามจุดมุ่งหมาย และคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกรณีที่ทราบขนาดประชากร ประกอบด้วย 1) แรงงานภาคการเกษตร จำนวน 165 คน และ 2) กลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานภาคการเกษตร จำนวน 50 คน ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือน ธันวาคม 2566 – เมษายน 2567
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวทางการสนทนากลุ่ม และแนวทางการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired Samples t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธี การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย จากการสำรวจและประเมินความเสี่ยง พบว่า พบปัญหาจากการทำงานยังพบผู้ป่วยที่มีอาการหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และยังไม่มีรูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตรอย่างมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ซึ่งต้องพัฒนารูปแบบตามสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไป โดยรูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย
4 องค์ประกอบ คือ 1) โครงสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2) กระบวนการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน
3) กระบวนการการดูแลสุขภาพทั้งเชิงรับและเชิงรุก และ 4) การติดตามและประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งค่าเฉลี่ยการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตร ก่อนพัฒนารูปแบบ มีค่าเฉลี่ย 6.5 (S.D=1.82) หลังพัฒนารูปแบบ มีค่าเฉลี่ย 8.5 (S.D.=1.28) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) โดยภายหลังการพัฒนารูปแบบแรงงานภาคการเกษตรมีค่าเฉลี่ยการดูแลสุขภาพมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ(Mean Difference= 2.0) สรุปได้ว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ทำให้กระบวนการการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดผลลัพธ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานภาคการเกษตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2558). ความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ ใช้ในภาคเกษตร(ไกลโฟเสต) และค่าใช้จ่ายสาหรับการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร. (ออนไลน). เขาถึงได https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1388720230220111053.pdf.
เจษฎากร โนอินทร์ และธรณินทร์ เสนานิมิต.(2567). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรอินทรีย์บางกระทุ่ม. วารสารศูนย์การพัฒนาเรียนรู้สมัยใหม่, 9(6): 197-211.
พชรพร ครองยุทธ และอดิเรก เร่งมานะวงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรในช่วงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) จังหวัดขอนแก่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 44(1): 78-89.
วรารัตน์ สังวะลีและคณะ.(2567). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล,37(1): 52-67.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอนกาม.(2565). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขปี 2565. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอนกาม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ2565. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.
Borg WR, Gall MD. (1983). Educational Research: An Introduction (4 th Ed.). New York,Ny: Longman Inc.
Dawson-saunderB. (1993). Basic&Biostatistics. 2nded.Norwalk, Connectient: Appleton&Lange.
World Health Organization. (1986). Ottawa charter for health promotion. In FirstInternational conference on Health Promotion. Ottawa,Canada: World Health Organization.