การพัฒนาโปรแกรมและผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกหอมแดง ในพื้นที่ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ทองคำ กมล, ส.บ.

บทคัดย่อ

                      การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นแบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมและประเมินผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกหอมแดง ดำเนินการวิจัยดำเนินการวิจัยในระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 ระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจั ดศัตรูพืชในกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร 57 คน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้โปรแกรม “รอบรู้ รอบด้าน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช” และศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและ จัดโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริม ความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันอันตรายจาก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และจัดกิจกรรมให้ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Samples t-test
                         ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.2 และมีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 42.1 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 94.7 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 44 และมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 82.5 มีประวัติการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 47.4 และสัมผัสสารเคมี 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 47.4 เคยได้รับการอบรมเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 91.2 และได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 66.7 ผลของโปรแกรม จำแนกตามรายด้านพบว่า ด้านความรู้ก่อนการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 6.58 (S.D.=3.44) หลังการใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 12.32 (S.D.=0.74) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 25.91 (S.D.=2.16) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 32.91 (S.D.=1.21) ด้านการสื่อสารก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 29.93 (S.D.=2.04) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 35.91 (S.D.=1.75) ด้านการการจัดการตนเองก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 19.89 (3.83) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 27.39 (S.D.=1.37) ด้านการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 21.82 (3.91) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 28.44 (S.D.=1.21) และด้านการตัดสินใจก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 38.39 (4.34) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 47.25 (S.D.=1.37) ความรอบรู้สุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังการใช้โปรแกรมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และความรอบรู้สุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในขั้นตอนการเตรียมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 39.40 (S.D.=5.45) หลังใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 30.32 (S.D.=1.53) พฤติกรรมขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 38.28 (S.D=3.82) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 42.93 (S.D.=1.00) พฤติกรรมหลังเสร็จสิ้นการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 46.89 (S.D.=3.33) หลังใช้โปรแกรม 50.81 (S.D.=1.09) พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หลังการใช้โปรแกรมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ภายหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดสูงขึ้นกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.011) โดยก่อนการใช้ อยู่ในระดับ ไม่ปลอดภัยร้อยละ 29.8 ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปลอดภัย ร้อยละ 31.6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร จันตะเภา, ฤทธิรงค์ พันธ์ดี และวรารัตน์ หนูวัฒนา. (2564). เปรียบเทียบความรู้ การป้องกัน และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างเกษตรกรปลูกข้าวและเกษตรกรปลูก แตงโม ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ แห่งประเทศไทย, 3(3),52-63.

กรสิริ ศรีนิล และคณะ. การเปลี่ยนแปลง ประชากรของแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญใน จังหวัดเชียงรายจาก ผลกระทบของสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง. (ออนไลน์). (2562). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566). เข้าถึง ได้จาก https://dspace.tarr. arda.or.Th/handle/ 6622815955/9550(2562).

กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร. การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร. (ออนไลน์). (2562). (เข้าถึงเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2566). เข้าถึงได้ จาก http://farmer.doae.go.th/index.php/bi_report/bi_report5#tabs1.

กฤติญา แสงภักดี, กัญจน์ ศิลปะสิทธ์ิ, ดวงรัตน์ แพงไทย, วสินี ไขว้พันธุ์, ศิรินภา ศิริยันต์, และ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชของชาวนาอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารแก่นเกษตร, 42(3),375-384.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ และเสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ ปลูกสับปะรดในเขตสุขภาพที่ 8.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(1), 150-157.

กองสุขศึกษา. (2559). การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย).

กองสุขศึกษา. (2556). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไปในการ ปฏิบัติ ตามหลัก 3อ 2ส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค. (2564). สื่อการเรียนรู้ เรื่อง Health Literacy. (ออนไลน์). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567). เข้าถึงได้ file:///D:/Users/hp/Downloads/hl- %E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89.pdf.

ขวัญธิดา ทองภูบาล. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนันสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สาร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นตั้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จันทร์จารี เกตุมาโร. (2556). อาชีวอนามัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฬาพร คำรัตน์ และสัมมนา มูลสาร. (2552). การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกผัก. วารสารวิชาการ ม.อบ, 11(1), 111-130

จุมพล ไทยสุชาติ. (2541). การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้ https://tarr.arda.or.th/preview/item/lZPXEqtNes24agWRLEDiw.

จงรัก สุวรรณรัตน์ และธณกร ปัญญาใสโสภณ. (2565). การวิจัยและพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร. วารสารการพยาบาลและการ ดูแลสุขภาพ,40(1), 84-93

ฌาน ปัทมะ พลยง และคณะ. (2563). การศึกษาแบบผสมผสานวิธี: พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่มีผลต่ออาการเฉียบพลันของเกษตรกรทำนาอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 9 (1), 104-115.

ดวงใจ วิจัย. (2554). สถานะทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเพื่อการเฝ้าระวังสารเคมีทางการเกษตร 17-18 มิถุนายน 2554 หมวดที่ 2-8.

ทรัพย์สตรี แสนทวีสุข และวัฒน์สิทธิ์ ศิริวงศ์. (2555). การ ใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม: คู่มือสำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีวรรณ ศรีสุขคำ และรัตนา ทรัพย์บำเรอ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม เกษตรกรปลูกข้าวโพด จังหวัดพะเยา. วารสารควบคุมโรค, 47(3), 571-583.

ทวีศักดิ์ สมบูรณ์. (2557). ผลของโปรแกรมเครือข่ายป้องกันตนเองของเกษตรกรในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มซาโปนินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพน ทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธวัชชัย เอกสันติ และคณะ. การพัฒนาโปรแกรมและผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาข้าว. 2565.เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/258094.

นันทิกา สุนทรไชยกุล, เพ็ญศรี วัจฉละญาณ และสิริมา มงคลสัมฤทธิ์. (2552). การวิเคราะห์ความเสี่ยงทาง สุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

นัสพงษ์ กลิ่นจำปา และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2562). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 25(2), 26-34.

เนตรชนก เจริญสุข. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนาในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนตรชนก เจริญสุข. (ม.ป.ป.). ประสิทธิผลของโปรแกรม ฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัด 195 ศัตรูพืชของชาวนา ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), 24(1), 91-101.

ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2546). การเจ็บป่วยของคนไทยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. เอกสารประกอบการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติสำหรับการประชุม เวทีสมัชชาสุขภาพระดับพื้นที่ ปี พ.ศ. 2546. เครือข่ายสาขานโยบายการเกษตรและชนบทแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพ และระบบการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ปรีชา เปรมปรี. (2559). สถานการณ์โรคและการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ใน การประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัย จุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร.

ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์, สยาม อรุณศรีมรกต,จันทิมาปิยะพงษ์ และกฤษนัยน์ เจริญจิตร. (2560). การวิเคราะห์พื้นที่ระบาดของหอยเชอรี่ในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 247 257.

ปีติ พูนไชยศรี. (2556). อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในอาชีพเกษตรกรรม: เอกสารการสอนชุดวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พีรพล ไชยชาติ และเกศินี สราญฤทธิชัย. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 7(4), 42-51.

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535, (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551. วันที่ค้น ข้อมูล 23 สิงหาคม 2567, เข้าถึงได้จาก http://www.chemtrack.org/lawchem.asp?ID = HAZ.

พัณณิตา ลุงคะ และพันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการลดการสัมผัสสารเคมีในเกษตรกร. วารสารควบคุมโรค, 46(3), 247-256.

มณีรัตน์ สวนม่วง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, มลินี สมภพเจริญ และดุสิต สุจิรารัตน์. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่น. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 1 11.

รัตนา ทรัพย์บำเรอ, สุรัตน์ หงส์สิบสอง และนลิน สิทธิธูรณ์. (2561). การศึกษา ผลกระทบทางสุขภาพ จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษาในเกษตรกรปลูก กระเทียม จังหวัดพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัย นเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(1), 20-31.

ศิริพร สมบูรณ์ และคณะ. (2553). ผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรอำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 24(1), 102-117

ศิริพรรณ นาคน้อย และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมป้องกันการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต/คาร์บาเมตต่อพฤติกรรมป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอร์เรสในซีรั่ม และค่า SDPTG Aging Index ในชาวนาไทย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิษวิทยาไทย, 32(2) 41-60

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. องค์ความรู้ เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส(Cholinesterase reactive paper). กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตร และสหกรณ์; 2560.

สมศักดิ์ อินทมาต และ ชิดหทัย เพชรช่วย. (2555). การประเมินการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟตในเกษตรกรผู้ปลุกดอก เบญจมาศ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(2), 21-30.

สยาม อรุณศรีมรกต วรพร สังเนตร และปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์. (2560). การใช้สารเคมีในการทำนา ข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารเกษตรพระ วรุณ, 14(2), 173 180.

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2560). รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายปี 2560. วันที่ค้น ข้อมูล 17 สิงหาคม 2567, เข้าถึงได้จาก http://www.doa.go.th/ard/index.php? option =com_content&view =article&id = 22:stat2535&catid =29:stat&Itemid = 104

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แนวทางการดำเนินงานเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มือ เกษตรกรปลอดโรค สำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สุนันท์ ศรีวิรัตน์ และสุวพิทย์ แก้วสนิท. (2558) ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วารสารควบคุมโรค, 41(2), 130-141.อิศราภรณ์ หงส์ทอง และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2552). ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพ เกษตรกรกลุ่มปลูกหอมแดง ตำบลบึงบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. นิพนธ์คณะสารธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เข้าถึงได้ https://he01.tci- thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121827/92827

เอกราช สมบัติสวัสดิ์. (2556). ระดับโคลีนเอสเตอรเรสใน เลือดตัวบ่งชี้ผลจากการสัมผัสสารกำจัด ศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในชาวนา ตำบลธารละหลอด อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา. วันที่ค้นข้อมูล 9 ธันวาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456 789/43236

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2559). โครงการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy HL และพฤติกรรมสุขภาพ Health behavior HB ตามหลัก 3อ 2 ของ กลุ่มวัยทำงาน อายุและ 59 ปี และตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของกลุ่มวัยเรียน อายุ 7- 14 ปี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิสระ มรดก และชิดหทัย เพชรช่วย. (2557). การประเมินการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในเกษตรกรผู้ปลูกพริก พื้นที่ตาบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและงานอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข.

Abang, A. F. et al. (2013). Vegetable growers perception of pesticide use practices, cost, and health effects in the tropical region of Cameroon. International journal of Agronomy and Plant Production, 4, 873-883.

Boudry, I., Blanck, O., Cruz, C., Blanck, M., Vallet, V., Bazire, A., Capt, A., Josse, D., & Lallement, G. (2008). Percutaneous penetration and absorption of parathion using human and pig skin models in vitro and human skin grafted onto nude mouse skin model in vivo, J Appl Toxico, 28(5), 645-57. doi: 10.1002/jat.1317

Thetkathuek, A., Yenjai, P., Jaidee, W., Jaidee, P., & Sriprapat, P. (2017). Pesticide Exposure and Cholinesterase Levels in Migrant Farm Workers in Thailand. J Agromedicine, 22(2), 118-130. doi: 10.1080/1059924X.2017.1283276

Van Bortel, W., Trung, H. D., Thuan, le. K., Sochantha, T., Socheat, D., Sumrandee, C., Baimai, V., Keokenchanh, K., Samlane, P., Roelants, P., Denis, L., Verhaeghen, K., Obsomer, V., & Coosemans, M. (2008). The insecticide resistance status of malaria vectors in the Mekong region. Malar; 7, 102. doi: 10.1186/1475-2875-7 102.

World Health Organization: WHO. (1990). Public Health impact of pesticides used in agriculture. World Health Organization.

World Health Organization. (1990). Public Health Impact of Pesticides Used in Agriculture. The WHO Recommended Classification of Pesticides by Hazard and Guideline to Classification 2000-2002.

World Health Organization. (1998). Health promotion Glosser. Geneva: WHO Publications.

World Health Organization.(2009). The WHO recommended classification of pesticides by hazard and guidelines to classification. Germany: Wissenchaftliche Verlagsgesellschaft mbH, Stuttgart.