การประเมินผลการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของสถานที่ผลิตอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ในจังหวัดสมุทรสาครให้สู่ระดับดีมากปีงบประมาณ2567

Main Article Content

ศีลนิตย์ พึ่งเจษฎา, ภ.ม.

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของสถานที่ผลิตอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ให้อยู่ในระดับดีมาก (≥ ร้อยละ80 ) แบบ One group pretest posttest โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างรวม 37 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสรุปผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร ตส.1 (63) (Audit report) นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท และแบบบันทึกการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามข้อกำหนดพื้นฐาน ตส.2(63) ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน 2567 - ธันวาคม 2567 โดยมีการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ทั้งประเภทไม่เข้าข่ายโรงงานและเข้าข่ายโรงงาน ในครั้งที่ 1 จากนั้นให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อกำหนดตามแบบบันทึก โดยอ้างอิง แนวทางการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้เป็นกฎหมาย (GMP420) หลังจากนั้นมีการตรวจประเมินสถานที่ผลิตฯเป็นครั้งที่ 2 แล้วนำมาสรุปผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Sample
           ผลการวิจัยพบว่า คะแนนของผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารในครั้งที่ 2 มากกว่าครั้งที่1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ในภาพรวมทั้ง 5 หมวด และแยกรายหมวด แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจประเมิน เชิงรุก ทำให้สถานประกอบการเกิดการพัฒนาและปรับปรุงได้ดีขึ้น โดยมีสถานที่ ผลิตอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดไปสู่ระดับที่ดีมากจำนวนรวม11แห่ง โดยแบ่งเป็นสถานที่ผลิตอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ประเภทไม่เข้าข่ายโรงงาน ผ่านเกณฑ์ไปสู่ระดับดีมาก(≥ร้อยละ80 ) จำนวน 1 แห่ง และสถานที่อาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ประเภทเข้าข่ายโรงงาน ผ่านเกณฑ์ไปสู่ระดับดีมาก (≥ ร้อยละ80 ) จำนวน 10 แห่ง

Article Details

How to Cite
พึ่งเจษฎา, ภ.ม. ศ. (2024). การประเมินผลการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของสถานที่ผลิตอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ในจังหวัดสมุทรสาครให้สู่ระดับดีมากปีงบประมาณ2567. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(4), p. 172–186. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3665
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2567). สถานการณ์วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ประเภทไส้กรอกในเขตสุขภาพที่ 5 ปีงบประมาณ 2565. เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2567) https://kis.dmsc.moph.go.th/news/47/detail/7267.

กองอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2566). คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้เป็นกฎหมาย (GMP420) . สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เดลินิวส์ออนไลน์. (2565). เตือนภัยไส้กรอกมรณะ! ตรังผวาเด็ก 3 ราย กิน 15 นาที ‘ปากเขียว-อ่อนแรง’. เข้าถึงเมื่อ (1 กุมภาพันธ์ 2565) https://www.dailynews.co.th/news/722651/.

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420 พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร. (9 กุมภาพันธ์ 2564). คัดจากราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 31 ง หน้า 24-26.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2554). SKYNET. https://privus.fda.moph.go.th/.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.(2567). การตรวจเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ ภาคกลาง. (2567, 1 สิงหาคม). กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. https://sites.google.com/view/kbs456.

Charoenphong, S. (2019). การประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (Primary GMP) โดยผู้ประกอบการจังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(3),16-28. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/.

Leasurapranon, B. (2018). การศึกษาสถานการณ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จังหวัดนครราชสีมา 2560. Thai Food and Drug Journal, 25(2), 58-66. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/fdajournal/article/view/140345.