การพัฒนาแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด จำนวน 30 คน และศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 11 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และนาฬิกาจับเวลา และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกระยะเวลาการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดและของศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อต่อแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.85, และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศรีสะเกษ ประกอบด้วย ใบรายการเครื่องมือ/อุปกณ์ผ่าตัด 2) ค่าเฉลี่ย ระยะเวลาการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด หลังการพัฒนา (mean = 12.86, S.D. = 1.92) ลดลงกว่าก่อนการพัฒนา (mean = 22.03, S.D. = 3.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.0001) 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดต่อการใช้แนวทางการเตรียมเครื่องมือโดยรวม (mean = 4.76, S.D. = .43) อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความพึงพอใจของศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อต่อแนวทางการเตรียมเครื่องมือโดยรวม (mean = 4.81, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่า แนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศรีสะเกษ สามารถนำไปใช้ได้จริง ควรส่งเสริมในทางปฏิบัติแก่พยาบาลห้องผ่าตัด ที่อยู่ในระยะเรียนรู้งาน ให้นำไปใช้ในการพัฒนางาน โดยประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงพยาบาลต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2548). แนวทางการดำเนินงานเทคโนโลยีและการสื่อสารด้านสุขภาพในระบบบริการ
สุขภาพ. กรุงเทพมหานคร. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
จิราภรณ์ ฉลานุวัฒน์, กรรณิกา สัมฤทธิ์, ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม, และนิภาวรรณ สามารถกิจ. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายในโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(4), 34-46.
ธันย์ สุภัทรพันธุ์. (2538). Fracture dislocation of hip and femur. ในสมชัย ปรีชาสุข, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท, และ วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ (บรรณาธิการ), ออร์โธปิดิกส์(ฉบับปรับปรุง). (หน้า 179-193). กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยสาส์น
ปราณี มีหาญพงษ์, สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์, ชุติมา บ่ายเที่ยง. (2566). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลการผ่าตัดเร่งด่วนในผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 33(1), 147-60.
พัชราพร ตาใจ, บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน, และเยาวลักษณ์ สงวนพานิช. (2563). กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ: บทบาทพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 116-128.
วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, อรุโณทัย ศิริอัศวกุล, สุวิมล ต่างวิวัฒน์, ธีรวุฒิ ธรรมวิบูลย์ศรี, เอกภพ หมอกพรม, และอัญชนา สุรอมรรัตน์. (2566). การประเมินระบบ การดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักที่ผ่าตัดเร็วโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลนำร่องของประเทศไทยและผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ต่อระบบ การดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก. [อินเทอร์เน็ต] เข้าถึง เมื่อ 16 เมษายน 2567, จากhttp://hdl.handle. net/11228/5827.
American Academy of Orthopaedic Surgeons [AAOS]. (2007). Live It Safe. Retrieved April 16, 2024, from http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00245
American Academy of Orthopaedic Surgeons [AAOS]. (2009). Hip Fractures. Retrieved April 16, 2024, from http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00392.
Deming, W. Edwards. (1986). Out of the crisis. MIT Press.
E C Folbert, J H Hegeman, M Vermeer, E M Regtuijt, D van der Velde , H J Ten Duis ,& J P Slaets . (2017). Improved 1-year mortality in elderly patients with a hip fracture following integrated orthogeriatric treatment. Epub, 28(1), 269-277. Retrieved Aprilr 16, 2024, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27443570/
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude. Theory and Measurement, (90-95). New York: Wiley & Son.
Mak, J. S., Cameron, I. D., & March, L. M. (2010). Evidence-based guidelines for the management of hip fracture in older persons: an update. MJA, 192(1), 37-41.
U.S. FDA Resources, 2017) Patients expected Profemur artificial hips to last. Then they snapped in half. Retrieved April 16, 2024, from https://www.cbsnews .com › news › prof
Vroom, V. (1964). Leadership and Decision-Making.
Pittsberg: University of Pittsberg Press. Wolman, B. B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. London: Litton Educational.