ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

กิตติพงศ์ บุญเจริญ, ส.ม.
ณัฏฐ์นรี คำดี, ส.บ.

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ อสม. ในอำเภอราษีไศล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานที่เสริมสร้างศักยภาพของ อสม. ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการพัฒนาที่นำไปสู่การปรับปรุงการทำงานอย่างยั่งยืน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. จำนวน 38 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์ การบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบสอบถามเพื่อประเมินผลเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาอย่างง่ายได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test และประเมินผลกระทบของกิจกรรม


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 80.1 มีอายุระหว่าง 40-59 ปี ร้อยละ 79.3 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 75.0 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 46.9 รายได้ต่อเดือนระหว่าง 1,000 – 5,000 บาท ร้อยละ 81.3 ระยะเวลาการเป็น อสม. ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 32.8 ส่วนใหญ่ได้เข้ามาเป็น อสม. โดยความสมัครใจ ร้อยละ 87.9 ด้านความสัมพันธ์ ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านการนิเทศงาน ปัจจัยด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนและปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการปฏิบัติงานโดยรวมของ อสม. ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม. ในด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพและด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่าย (p<0.05) ปัจจัยด้านการนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม. ในด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่ายและด้านการปฏิบัติงานที่สถานีสุขภาพ (Health Station) (p<0.05)  ปัจจัยด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม. ในด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่ายและด้านการปฏิบัติงานที่สถานีสุขภาพ (Health Station) (p<0.05) ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม.ในด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่ายและด้านการปฏิบัติงานที่สถานีสุขภาพ (Health Station) (p<0.05) ระดับความรู้และระดับการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านของ อสม. หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นพื้นฐานดีกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ อสม.ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.73 มีความพึงพอใจในระดับสูง (Mean = 7.84, SD = 3.94) ภายหลังการเข้าร่วมโครงการ


            จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้ การปฏิบัติ และความพึงพอใจโดยโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นพื้นฐานสามารถนำไปใช้ในการสร้างศักยภาพ ส่งเสริมการปฏิบัติงานของ อสม. ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ภาครัฐ) และ อสม. (ภาคประชาชน) และผู้มีส่วนได้ส่วยเสียในชุมชนสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

Article Details

How to Cite
บุญเจริญ, ส.ม. ก., & คำดี, ส.บ. ณ. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(4), p. 187–199. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3673
บท
บทความวิจัย

References

กนกทอง สุวรรณบูลย์. (2545). "อิทธิพลของค่านิยมทางจริยธรรม สิ่งจูงใจ การสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติงานอาสาสมัตรสาธารณสุข จังหวัดระยอง"วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.

กระทรวงสาธารณสุข. (2549). หลักสูตรฝึกอบรม มาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ปีพุทธศักราช 2550. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2536). รวมบทความและเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานสาธารณสุข มูลฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มืออบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ปี 2553 : บริษัท เรดิเอชั่น จำกัด.

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2566) รายงาน ประจำปี 2553. เทศบาลตำบลเมืองคงจังหวัดศรีสะเกษ.

กฤษณ์ พงศ์พิรฬห์ และบาร์บาร่า สตาร์ฟิลด์. (2552). การบริการปฐมภูมิกับระบบสุขภาพ : Banefits Of primary care. วารสารระบบริการสุขภาพปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 51 – กุมภาพันธ์ 52.

เกษมธิดา สพสมัย. (2536). "การปฏิบัติตามบทบาทในการสนับสนุนการคำเนินงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน (ศสมช.) ระดับตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ปารณัฐ สุขสุทธิ์. (2550). อาสาสมัครสาธารณสุข : ศักยภาพและบทบาทในบริบทสังคมไทยที่เปลี่ยนไป. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, สถาบันวิจัยระบบสารธารณสุข.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ปารณัฐ สุขสิทธิ์.(2550) อาสาสมัครสาธารณสุข : ศักยภาพ และบทบาทในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1(3)ม 268-279.

คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินงานยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐม ภูมิ. (2550). แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ พ.ศ.2550-2554 สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน. มหาวิทยาลัยมหิดล.

คำรพ พงศ์อาทิตย์, จิรพงย์ แสงทอง (2549). รายงาน วิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน สาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง.

โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก. (2532) กระทรวงสาธารณสุข.

จิตราวดี พันธุ์ไม้. (2551). "ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองมาบตพุด" . วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2542) การสาธารณสุขมูลฐาน. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.

อรุณ จิระวัฒน์กุล. (2551) ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพขอนแก่น. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Alam K., Tasneem S., & Oliveras E. (2012). Performance of female volunteer community health workers in Dhaka urban slums. Social Science Medicine. 75(3):511-515.

Alam, R., (2004). What are the advantages And disadvantages of restructuring a health care system to be more focused on primary care services? Copenhagen, WHO Regional office For Europe’s Health Evidence Network (HEN) report. Retrieved 15/12/2023,Formhttp://www.euro.who.int/document/e82997.pdf.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988).*The Action Research Planner*. Victoria: Deakin University Press.

WSO. (2012). Facts and Figures about Stroke.