ถอดบทเรียนการให้บริการของบุคลากรในสถานพยาบาลของรัฐที่จัดบริการทางจิตวิทยาแก่ผู้ป่วยเด็กและครอบครัวด้วยระบบออนไลน์เพื่อวิเคราะห์โอกาสพัฒนางานบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยระบบออนไลน์

ผู้แต่ง

  • อัจจิมา ศิริพิบูลย์ผล สถาบันราชานุกูล
  • ประเสริฐ จุฑา สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ระบบออนไลน์, เด็กสมาธิสั้น, จิตวิทยา

บทคัดย่อ

กระบวนการถอดบทเรียนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บข้อมูลการวิจัยนั้นผู้วิจัยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และผู้ปฏิบัติงานจำนวน 15 คนที่เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติในสถานพยาบาลของรัฐที่มีการจัดบริการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับเด็กและครอบครัว หรือการให้บริการสำหรับเด็กและครอบครัว

การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มงานจิตวิทยาครั้งนี้ นำไปสู่การทบทวนการพัฒนางานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยระบบออนไลน์ กลุ่มงานจิตวิทยา สถาบันราชานุกูลในประเด็นที่สำคัญ คือ 1) ลักษณะของงานบริการทางจิตวิทยาด้วยรูปแบบออนไลน์ของหน่วยงาน และ 2) วิเคราะห์ผลลัพธ์การดำเนินงานด้วยระบบออนไลน์ของกลุ่มงานจิตวิทยา สถาบันราชานุกูล

References

Chutha P. Development of Behaviour in Children with Delayed Development. Bangkok: Ladprao Publishing; 2006.

แพทยสภา. ประกาศแพทยสภาที่ 54/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์. เข้าถึงได้ที่ https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/Telemedicine.[23 กรกฎาคม 2563]

Jim G, et al. Effects and Effectiveness of Telemedicine. Health Care Financ Rev 1995; 17(1).

Kichloo A, et al. Telemedicine, the current COVID-19 pandemic and the future: a narrative review and perspectives moving forward in the USA. Fam Med Com Health 2020; 8. Doi: 10.1136/fmch-2020-000530.1.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28