ผลการศึกษาสถานการณ์สุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนโชติ เทียมแสง ศูนย์สุขภาพจิตที่ 13

คำสำคัญ:

การฆ่าตัวตาย , นักเรียนมัธยมศึกษา , ปัญหาสุขภาพจิต , ภาวะซึมเศร้า , โควิด-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางของนักเรียนมัธยมศึกษา (อายุ 12-18 ปี)
ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (PHQA) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงการฆ่าตัวตายด้วยสถิติ Chi-square test และ Binary logistic regression โดยนำเสนอเป็นค่า odds ratio และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ผล กลุ่มตัวอย่าง 3,418 คน อายุเฉลี่ย 15.3 ปี (+1.5SD) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.6 พบความชุกภาวะซึมเศร้าตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงร้อยละ 52.5 และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายร้อยละ 29.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ เพศหญิง การไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง มีประวัติการรักษาโรคจิตเวช และมีปัญหาความเครียดในเรื่องการเรียน/ ครอบครัว/ เพื่อน/ อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p < .001)

สรุป ความชุกภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 พบในอัตราที่สูงกว่าภาวะปกติ นักเรียนเพศหญิง การที่เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครองมีประวัติโรคจิตเวชและมีความเครียดในเรื่องต่างๆ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควรได้รับการดูแลและเฝ้าระวัง

References

Günindi Y. The Effect of Online Education on Children's Social Skills during the COVID-19 Pandemic. International Electronic Journal of Elementary Education. 2022 Jun;14(5):657-65.

Panchal U, Salazar de Pablo G, Franco M, Moreno C, Parellada M, Arango C, et al. The impact of COVID-19 lockdown on child and adolescent mental health: systematic review. European child & adolescent psychiatry. 2023 Jul;32(7):1151-77.

Hu, Y., Qian, Y. COVID-19 and adolescent mental health in the United Kingdom. Journal of Adolescent Health, 69(1), 26-32. (2021).

Power, E., Hughes, S., Cotter, D., Cannon, M. Youth mental health in the time of COVID-19. Irish Journal of Psychological Medicine, 37(4), 301-305. (2020).

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, แพรว ไตลังคะ. มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด

COVID – 19. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564]. แหล่งที่มา: https://www.thaidmh-elibrary.org/content/7191/มุมมองด้านสุขภาพจิตและ จิตสังคมของการระบาด-covid-19-addressing-mental-health-and-psychosocial-aspectsof-covid-19-outbreak

กรมสุขภาพจิต. ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทย นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565]. แหล่งที่มา:https:// checkin.dmh.go.th/dashboard/dash01

United Nations Children’s Fund (UNICEF). The State of the World’s Children 2021: On My Mind – Promoting, protecting and caring for children’s mental health, UNICEF, New York, October 2021.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. J Ment Health Thai [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564]; ปีที่ 28: 280-291. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/242486

Li SH, Beames JR, Newby JM, Maston K, Christensen H, Werner-Seidler A. The impact of COVID-19 on the lives and mental health of Australian adolescents. European child & adolescent psychiatry. 2022 Sep;31(9):1465-77.

Kroenke K, Spitzer RL, Williams JB. The PHQ‐9: validity of a brief depression severity measure. Journal of general internal medicine. 2001 Sep;16(9):606-13.

Johnson JG, Harris ES, Spitzer RL, Williams JB. The patient health questionnaire for adolescents: validation of an instrument for the assessment of mental disorders among adolescent primary care patients. Journal of Adolescent Health. 2002 Mar 1;30(3):196-204.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย. [Development of the Thai version of the Patient Health Questionnaire for Adolescents (PHQ-A)]. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง; 2561.

Thapar A, Collishaw S, Pine DS, Thapar AK. Depression in adolescence. The lancet. 2012 Mar 17;379(9820):1056-67.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. แหล่งที่มา https:// he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/download/210760/164768/. (1 มีนาคม 2565).

Avenevoli, S., Swendsen, J., He, J. P., Burstein, M., Merikangas, K. R. Major depression in the national comorbidity survey–adolescentsupplement: Prevalence, correlates, and treatment. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry, 54(1), 37-44. (2015).

Mojtabai, R., Olfson, M., Han, B. National trends in the prevalence and treatment of depression in adolescents and young adults. Pediatrics, 138(6). (2016).

Rosenfeld, E. V., Mulye, T. P., Sanchez-Vaznaugh, E. V. Gender disparities in COVID-19 pandemic-related depressive symptoms among adolescents in the United States. JAMA Pediatrics, 174(10), 1040-1042. (2020).

Ge X, Conger RD, Elder Jr GH. Pubertal transition, stressful life events, and the emergence of gender differences in adolescent depressive symptoms. Developmental psychology. 2001 May;37(3):404.

Piccinelli M, Wilkinson G. Gender differences in depression: Critical review. The British Journal of Psychiatry. 2000 Dec;177(6):486-92.

Elmer T, Mepham K, Stadtfeld C. Students under lockdown: Comparisons of students’ social networks and mental health before and during the COVID-19 crisis in Switzerland. Plos one. 2020 Jul 23;15(7):e0236337.

Spinelli M, Lionetti F, Pastore M, Fasolo M. Parents' stress and children's psychological problems in families facing the COVID-19 outbreak in Italy. Frontiers in psychology. 2020 Jul 3;11:1713.

Loades ME, Chatburn E, Higson-Sweeney N, Reynolds S, Shafran R, Brigden A, Linney C, McManus MN, Borwick C, Crawley E. Rapid systematic review: the impact of social isolation and loneliness on the mental health of children and adolescents in the context of COVID-19. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry. 2020 Nov 1;59(11):1218-39.

Nardi, B., Francesconi, G., Colasante, T. The role of stress in adolescent depression: An integrative review. Journal of Affective Disorders, 245, 1148-1162. (2019)

Cyranowski, J. M., Frank, E., Young, E., Shear, M. K. Adolescent onset of the gender difference in lifetime rates of major depression: a theoretical model. Archives of general psychiatry, 57(1), 21-27. (2000).

Friedrich LS. Gender issues in mental health. Available from: http://www.minddisorders. com/Flu-Inv/gender-issues-in-mental-health. html, [Lited15/04/2006]. (2006).

Remes, O., Mendes, J. F., Templeton, P. Biological, psychological, and social determinants of depression: a review of recent literature. Brain sciences, 11(12), 1633. (2021).

ประยูร ศรี ศรีจันทร์, พวงเพชร เกษรสมุทร, วารีรัตน์ ถาน้อย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์. วารสาร พยาบาลศาสตร์. 2563;38(1):86-98.

Sangon, S., Nintachan, P., Kingkaew, J. Factors influencing depression in thai disadvantaged adolescents in a province in the central region. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 32(2), 13-38. (2018).

โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะ ซึมเศร้าในวัยรุ่นด้อยโอกาสไทยในจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2561;32(2):(13-3830)

Hammen, C. Stress and depression. Annu. Rev. Clin. Psychol., 1, 293-319. (2005).

Smith, S. R. Making sense of multiple informants in child and adolescent psychopathology: A guide for clinicians. Journal of psychoeducational assessment, 25(2), 139-149. (2007).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-15

How to Cite

1.
เทียมแสง ธ. ผลการศึกษาสถานการณ์สุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เขตกรุงเทพมหานคร. ว. ราชานุกูล [อินเทอร์เน็ต]. 15 กันยายน 2023 [อ้างถึง 24 มกราคม 2025];35(1). available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1257