ประสิทธิผลของระบบยาอัตโนมัติ สถาบันราชานุกูล

ผู้แต่ง

  • พัณณพัฒน์ พรรณ์แผ้ว สถาบันราชานุกูล
  • จินตนา ปรัชญาสันติ สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

ระบบยาอัตโนมัติ, ความคลาดเคลื่อนทางยา, ระยะเวลาการให้บริการจ่ายยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาและระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาก่อนและหลังใช้ระบบยาอัตโนมัติ

วัสดุและวิธีการ การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังใช้ระบบยาอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวนครั้งการให้บริการจ่ายยาในสถาบันราชานุกูล เดือนตุลาคม 2562- สิงหาคม 2563 โดยแบ่งเก็บข้อมูลก่อนการทดลอง (เดือนตุลาคม 2562-มกราคม 2563) และหลังการทดลอง (เดือน เมษายน 2563-สิงหาคม 2563) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือการทดลอง คือ ระบบยาอัตโนมัติที่ทำงานเชื่อมต่อและรับคำสั่งจากระบบ Hospital Information System (HIS) ของสถาบันราชานุกูล (โปรแกรม JHOS) ซึ่งประกอบด้วยตู้ยาอัตโนมัติ 3 รูปแบบ คือ (1) เครื่องนับเม็ดยาอัตโนมัติ (2) ระบบบริหารจัดการยาความเสี่ยงสูง และ (3) ระบบสถานีเก็บและจัดยากึ่งอัตโนมัติ และ 2) เครื่องมือที่ใช้วัด ได้แก่ ใบสั่งยา แบบบันทึกข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา และแบบทันทึกระยะเวลาให้บริการจ่ายยา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบจำนวนครั้งของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาด้วยสถิติ Chi-square test และเปรียบเทียบระยะเวลาในการให้บริการจ่ายยาเฉลี่ย ใช้สถิติ Independent t-test

ผล จากกลุ่มตัวอย่างที่รับยาทั้งสิ้น 6,036 ครั้ง พบว่าหลังจากใช้ระบบยาอัตโนมัติความคลาดเคลื่อนทางยา (Prescription error และ Pre-Dispensing error) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.01) และระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาเฉลี่ยของทุกกระบวนการ หลังการใช้ระบบยาอัตโนมัติลดลงจากก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จาก 6.17 นาที เป็น 3.46 นาที

สรุป ระบบยาอัตโนมัติทำให้ความคลาดเคลื่อนทางยาและระยะเวลาในการให้บริการจ่ายยาลดลง

References

ชูเกียรติ เพียรชนะ, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. ตัวชี้วัดระบบยาและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการของระบบยา กรณีศึกษา ณ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553; 5(2):138-45.

Institute of Medicine. To err is human: Building a safer health system. [Online]. Available from: http://www.nap.edu/catalog/9728.html [2020 Feb 1]

Flynn EA, Barker KN, Carnahan BJ. National observational study of prescription dispensing accuracy and safety in 50 pharmacies. J Am Pharm Assoc (Wash). 2003; 43(2):191-200.

Dean B. Learning from prescribing errors. Qual Saf Health Care 2002; 11(3):258-60.

Ali S, Aboheimed NI, Al-Zaagi IA, Al-Dossari DS. Analysis of medication errors at a large tertiary care hospital in Saudi Arabia: a retrospective analysis. Int J Clin Pharm 2017; 39(5):1004-7.

แผนพัฒนาดิจิทัล กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2561-2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://ict.dmh.go.th/events/events/files/2-DMHdigital-plan@20191115p1.pdf [9 มกราคม 2562]

National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCC MERP). [Online], available from:

http://www.nccmerp.org/sites/default/files/indexBW2001-06-12.pdf [2020 Jun 2]

Franklin BD, O’Grady k, Voncina L, Popoola J, Jacklin A, An evaluation of two automated dispensing machines in UK hospital pharmacy. Int J Pharmacy Pract 2008; 16(1):47-53.

Rodriguez-Gonzalez CG, Herranz-Alonso A, Escudero-Vilaplana V, Ais-Larisgoitia MA, Iglesias-Peinado I, Sanjurjo-Saez M. Robotic dispensing improves patient safety, inventory management, and staff satisfaction in an outpatient hospital pharmacy. J Eval Clin Pract 2018;1–8.

Angelo LB, Christensen DB, Fereri SP. Impact of Community Pharmacy Automation on Workflow, Workload, and Patient Interaction. J Am Pharm Assoc 2005; 45(2):138-44.

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อรายงานผลความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาล ศรีนครินทร. ศรีนครินทรเวชสาร 2562; (34)3:261-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06