การตรวจสอบการลงข้อมูลรหัสหัตถการทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในสถาบันราชานุกูล

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา ชีวีวัฒน์ สถาบันราชานุกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสอดคล้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ของการลงรหัสหัตถการทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นกับการวินิจฉัยโรค เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลของสถาบันราชานุกูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น ก่อนนำไปขยายผลระดับกรมหรือกระทรวง

วัสดุและวิธีการ การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ชุดข้อมูลผู้ป่วยที่มีการลงรหัสหัตถการหรือการวินิจฉัยโรคในฐานข้อมูลของสถาบันราชานุกูล ระหว่าง ปี 2560-2565 กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศนำเข้าข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด คือ วินิจฉัย และหัตถการที่ได้รับ จากนั้นนำมาจัดกลุ่มตามการวินิจฉัย เพื่อดูความสอดคล้องระหว่างวินิจฉัยและหัตถการที่ได้รับ โดยเปรียบเทียบกับตารางกลุ่มโรค การรักษามาตรฐาน และรหัสหัตถการ ที่ได้ทบทวนไว้ วิเคราะห์ความสอดคล้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ในการลงรหัสหัตถการ

ผล ความสอดคล้องการลงรหัสหัตถการกับวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยนอก ร้อยละ 67.27 ผู้ป่วยใน ร้อยละ 80.00กลุ่มโรคสูงสูด 3 อันดับ คือ ออทิสติก บกพร่องทางสติปัญญา และพัฒนาการล่าช้า มีอัตราความสอดคล้องสูง คือ ร้อยละ 80-100 ในด้านความสมบูรณ์ ผู้ป่วยนอกไม่ลงรหัสหัตถการ ร้อยละ 49.18 ผู้ป่วยใน ไม่ลงรหัสหัตถการ ร้อยละ 97.74 บริการที่ลงรหัสไม่ครบเป็นส่วนใหญ่ คือ หมวดบริการทางสังคมและการศึกษาพิเศษ ส่วนที่ไม่พบการลงรหัสหัตถการ ได้แก่ การตรวจประเมินต่างๆ การทดสอบทางจิตวิทยา และการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยา

สรุป การบันทึกรหัสหัตถการ ของสถาบันราชานุกูลส่วนใหญ่สอดคล้องกับวินิจฉัยและการรักษามาตรฐาน โดยเฉพาะในโรคกลุ่มหลัก แต่การบันทึกรหัสหัตถการยังไม่ครบถ้วนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยใน

References

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล. หัตถการทางการแพทย์ กุมภาพันธ์ 2555. [online]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th [27 มกราคม 2566]

World health organisation. International classification of diseases 9th revision clinical modification: classification of procedures. 9th ed. Illinois: 2015.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร. อัตราค่าบริการสาธารณสุข สำหรับเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ที่เบิกจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตุลาคม 2563. [online]. Available from: https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF2/BKK_Primary_Care_Fee_Schedule_2020_10_18.pdf [27 มกราคม 2566]

ทัสนีย์ จันทร์น้อย. "รูปแบบการจ่ายค่ารักษา พยาบาลสำหรับระบบประกันสุขภาพ" กลไกและมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง ระบบประกันสุขภาพ. การประชุมวิชาการการวิจัยระบบสุขภาพประจำปี 2556 เรื่อง “การลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มความเป็นธรรมด้านสุขภาพ”; 2556; นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2556.

อรทัย เขียวเจริญ, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, สุเมธี เชยประเสริฐ ,ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. การเปลี่ยนแปลงสำคัญในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29: 954-60.

อรทัย เขียวเจริญ, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์,นิชนันท์ รอดเนียม. การพัฒนากลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยในจิตเวช ฉบับที่ 3. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12: 95-102.

Martin A, Volkmar FR. Lewis's Child and Adolescent Psychiatry: A Comprehensive Textbook, 4th ed. Connecticut: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.

Michael R, Dorothy VMB, Daniel SP, Stephen S, Jim S, Eric T, Anita T. Rutter’s Child and Adolescent Psychiatry, 5th ed. Massachusetts: Blackwell Publishing; 2008.

วินัดดา ปิยะศิลป์, พนม เกตุมาน. ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น, พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2545.

วินัดดา ปิยะศิลป์, พนม เกตุมาน. ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2550.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี, พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-09