ผลของโปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ต่อความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • จิรภัทร เปลื้องนุช สถาบันราชานุกูล
  • ณภัทร พรหมชู สถาบันราชานุกูล
  • นรุตม์ แพงพรมมา สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

เด็กออทิสติก, การจัดการอารมณ์ทางเพศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ภายในกลุ่มก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น และเปรียบเทียบความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่นกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วัสดุและวิธีการ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก อายุ 10-18 ปี ซึ่งมารับบริการผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล จำนวน 40 คน  คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จับคู่ด้วยอายุ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล 8 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 1 และ 8 เป็นการประเมินความสามารถของผู้ดูแลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ส่วนสัปดาห์ที่ 2–7 เป็นการจัดกิจกรรมตามแผน สัปดาห์ละ 1 ครั้งๆ ละ 90 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ด้วยสถิติ Paired t- test  และ Independent t- test

ผล ความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น หลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป โปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น เป็นวิธีการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลให้สามารถจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่นได้ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมที่ออกแบบให้ได้รับทั้งความรู้และการฝึกทักษะตามประเด็นความรู้ที่กำหนดควบคู่กันไป สามารถช่วยให้ผู้ดูแลเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจ จดจำ นำไปฝึกเด็กออทิสติกได้จริง

References

จริยา จุฑาภิสิทธิ์. กลุ่มอาการออทิซึม (autism spectrum disorder).ใน สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์ และคณะ,บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. เล่ม 4. กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด; 2561. หน้า 587-600.

เนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, และพนม เกตุมาน, บรรณาธิการ.จิตเวชศิริราช DSM-5.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์; 2559. หน้า 235-54.

ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. Autistic Spectrum Disorder ปัญหาพฤติกรรม ภาษา และการแก้ไขประสบการณ์จากโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2555.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. ช่วยลูกออทิสติกคู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ไม่ยอมแพ้. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์; 2545.

ชาตรี วิฑูรชาติ. ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, และพนม เกตุมาน, บรรณาธิการ.จิตเวชศิริราช DSM-5. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์; 2559.หน้า 420-56.

ทิชาคริยา ธีรเนตร. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. เล่ม 3. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2556.

สุชา จันทน์เอม. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2540.

ฐาวรีย์ ขันสำโรง. โมเดลการจัดการเชิงระบบในการป้องกันพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของ วัยรุ่นออทิสติก. วารสารวิชาการ สคร. 9 2561;24(2): 67-79.

นิลชร เย็นยาซัน. ผลของโปรแกรมการสอนเรื่องเพศศึกษาต่อความรู้ เจตคติและพฤติกรรม การดูแลเรื่องเพศในผู้ดูแลเด็กปัญญาอ่อนเพศหญิง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], นครปฐม: มหาวิทยามหิดล; 2549.

รุจา ภู่ไพบูลย์.แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: วี.จี; 2558.

ศรันย์ ปองนิมิตพร, สุดธิดา แก้วขจร, ลาวัลย์ สมบูรณ์, นิตยา ไทยาภิรมย์. ความรู้การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสอนเรื่องเพศในเด็กปฐมวัยของบิดามารดา. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2560; 44(2): 28-37.

สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล, ปริญญา เรืองทิพย์, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สําหรับส่งเสริมกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2562;12(1):101-15.

นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี, ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2559; 43(ฉบับพิเศษ):104-15.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วงศ์กมล โปรดักชั่น จำกัด; 2544.

พฤฒิศักดิ์ จันทราทิพย์. ปัจจัยทํานายความเครียดในการดูแลเดกออทิสติกของมารดา. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

ชามณฑน์ สวนกระจ่าง. ปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติเพื่อการดูแลของผู้ดูแลผู้ติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

ธมลวรรณ สีนาค. ธมลวรรณ สีนาค. ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560

อุดมชัย มัณยานนท์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์. ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ 2563;45(3):426-40.

พิชญา เหลียงพานิช. ผลของโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28