ลักษณะคะแนนของแบบทดสอบ Stanford Binet Intelligence Scale – Fifth Edition (SB5) ในผู้รับบริการออทิสติก

ผู้แต่ง

  • ประธาน วงศ์กังแห สถาบันราชานุกูล
  • เลิศจรรยา แสมขำ สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญา Stanford Binet Intelligence Scale (SB5) , ออทิสติก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะคะแนนความสามารถทางสติปัญญาจากแบบทดสอบ Stanford Binet Intelligence Scale (SB5) ของผู้รับบริการที่กลุ่มออทิสติก และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลและปัจจัยทำนายของคะแนนดิบ (raw score) ต่อค่าความสามารถทางสติปัญญาโดยรวม (full scale score; FSIQ) ของแบบทดสอบ SB5 ในผู้รับบริการกลุ่มออทิสติก

วัสดุและวิธีการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนกลับ จากรายงานผลการทดสอบทางจิตวิทยาของสถาบันราชานุกูล ย้อนหลังตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ของผู้รับบริการจำนวน 163 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ตามเกณฑ์ของบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไข ครั้งที่10 (International Classification of Diseases and Related Health Problem 10th Revision; ICD–10) ว่าอยู่ในกลุ่มโรคออทิสติก (autistic spectrum disorder) และได้รับการประเมินความสามารถทางสติปัญญาด้วยแบบทดสอบ SB5 โดยนักจิตวิทยาคลินิก ใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (multiple regression analysis) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายระหว่างคะแนนดิบต่อ FSIQ

ผล พบว่า FSIQ เฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง คือ 47.0 ซึ่งเป็นคะแนนที่อยู่ในช่วงเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนาย FSIQ ได้แก่ คะแนนดิบด้านการคิดเชิงเหตุผลที่ไม่อาศัยการเรียนรู้ (fluid reasoning) และด้านความจำขณะใช้งาน (working memory) ในกลุ่มความสามารถด้านภาษา (verbal domain) และด้านการคิดเชิงเหตุผลที่ไม่อาศัยการเรียนรู้ (fluid reasoning) ในกลุ่มความสามารถด้านการกระทำ/ไม่เกี่ยวข้องกับภาษา (nonverbal domain)

สรุป แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญา SB-5 คะแนนดิบของทั้งใน verbal domain และ nonverbal domain รวมถึงด้าน working memory ใน verbal domain สามารถร่วมกันทำนาย FSIQ ได้ ซึ่งสามารถทำให้นักจิตวิทยาคลินิกหรือผู้ทดสอบ ทราบศักยภาพที่แท้จริงของผู้รับการทดสอบได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะแบบทดสอบ SB5 ที่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับต่ำสุดของแบบทดสอบ (floor effect)

References

สถาบันราชานุกูล. แผนยุทธศาสตร์สถาบันราชานกูล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/preview-3935.html

นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, พนม เกตุมาน. (บรรณาธิการ). จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558.

ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ, นิรมล พัจนสุนทร, สมจิตร์ หร่องบุตรศรี, จินตนา สิงขรอาจ และพีรดา อุ่นไพร. ระดับเชาวน์ปัญญาของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นกลุ่มโรคออทิสติก ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2560; 62(2): 97-106

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-5. (5th ed.). Arlington, VA: American Psychiatric Association; 2013.

Stephanie M Sansone, Andrea Schneider, Erika Bickel, and David Hessl. Improving IQ measurement in intellectual disabilities using true deviation from population norms. Journal of Neurodevelopmental Disorders [Internet]. 2014 [cite 2020 FEB 25]; (6)1 Available from: www.jneurodevdisorders.com/content/6/1/16.

Lonnie Zwaigenbaum. Brief Report: Data on the Stanford–Binet Intelligence Scales (5th ed.) in Children with Autism Spectrum Disorder. Journal of Autism and developmental Disorders [Internet]. 2008 Jan [cite 2020 FEB 25]; 38(1). Available from: www.jneurodevdisorders.com/content/6/1/16.

Conal Twomey,Helen O'Connell,Mary Lillis,Sarah Louise Tarpey,Gary O'Reilly .Utility of an abbreviated version of the stanford binet intelligence scale (5th ed) in estimating 'full scale' IQ for young children with autism spectrum disorder; 2017.

World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioral disorders: Clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva: World Health Organization; 1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-08

How to Cite

1.
วงศ์กังแห ป, แสมขำ เ. ลักษณะคะแนนของแบบทดสอบ Stanford Binet Intelligence Scale – Fifth Edition (SB5) ในผู้รับบริการออทิสติก. ว. ราชานุกูล [อินเทอร์เน็ต]. 8 พฤศจิกายน 2022 [อ้างถึง 24 มกราคม 2025];34(1). available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/286