การรับรู้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • กนกฉัตร สมชัย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • นัฐพล ศรีทะวัน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • วชิรา คำย้าว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

ผู้ปกครอง, เด็กปฐมวัย , พฤติกรรมเลี้ยงดู , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

วัสดุและวิธีการ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าสัดส่วน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วย Chi-square test

ผล กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยจำนวน 88 ราย มีผู้เข้าร่วมการศึกษาครบถ้วนจำนวน 77 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.5 ส่วนใหญ่เป็นบิดาหรือมารดา ร้อยละ 61 อายุระหว่าง 30 – 39 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 3,001 – 6,000 บาท ประกอบอาชีพเกษตรกร​ รับรู้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับมาก ร้อยละ 85.7 มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ระดับมาก ร้อยละ 87 โดยการรับรู้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)

สรุป ควรพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

References

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์,สมเกียรติยศ วรเดช. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;1:281-296.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ชัยชนะ บุญสุวรรณ, นฤมล ธนเจริญวัชร. ผลการศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2558.

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอำนาจเจริญ.ประกาศจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่องมาตรการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา(ฉบับที่ 2) (ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2564)

ศรันย์ ปองนิมิตพร, สุดธิดา แก้วขจร, ลาวัลย์ สมบูรณ์, นิตยา ไทยาภิรมย์. ความรู้การรับรู้สมรรถนะแห่งต และการสอนเรื่องเพศในเด็กปฐมวัยของบิดามารดา. พยาบาลสาร. 2560;44:28-37.

Bandura A.Self-efficacy:the exercise of control.New York:W.H.Freeman and Company;1997.

รรฤณ แสงแก้ว, จิดาภา ผูกพันธ์, กนกจันทร์ เขมันการ, วาสนา มาตพรมราช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2564;14(2):152-164.

กานติมา พิมธิค้อ, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, สุมัทนา กลางคาร. พัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2561;7(2):127-135.

ปริญญา จิตอร่าม, กุลนาถ มากบุญ.พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3 -5 ปี. วารสารทันตาภิบาล 2557;25(1):26-41.

วิภาพร ล้อมสิริอุดม. ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

อรนุช ประดับทอง, สุขุมาล แสนพวง, ธิดารัตน์ คณึงเพียร. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2563;21(1):55-67.

ชญาน์นันท์ ใจดี, เสริมศรี สันตติ, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก.รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2555;18(3):389-403.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-18

How to Cite

1.
สมชัย ก, ศรีทะวัน น, คำย้าว ว, ประสมรักษ์ ป. การรับรู้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง . ว. ราชานุกูล [อินเทอร์เน็ต]. 18 ตุลาคาม 2022 [อ้างถึง 24 มกราคม 2025];34(1). available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/355