กระบวนการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของเด็กออทิสติกโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษา

ผู้แต่ง

  • ยุวดี อ่ำประยูร โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

คำสำคัญ:

พัฒนาการทางภาษา , กระบวนการฝึกพูดโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษา , ออทิสติก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของเด็กออทิสติกโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษา

วัสดุและวิธีการ: เป็นการฝึกพูดที่นักแก้ไขการพูดฝึกกระตุ้นทักษะทางภาษา รวมทั้งมอบหมายให้ผู้ปกครองเป็นผู้ฝึกเด็กต่อที่บ้าน มีการตรวจสอบกิจกรรมการฝึกพูดที่บ้าน มีการฝึกพูดทั้งหมด 3 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการประเมินผลการฝึกก่อนหลังด้วยแบบประเมิน Developmental Skills Inventory (DSI) เฉพาะด้านความเข้าใจภาษาและด้านการใช้ภาษา เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2654 ถึง ธันวาคม 2564 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 5 ปี จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผล พบว่าเด็กออทิสติกที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษามีคะแนนทางด้านความเข้าใจภาษาสูงกว่าก่อนเข้ารับกระบวนการกระตุ้น (ก่อนทดลองค่าเฉลี่ย = 9.01, S.D. = 3.43 หลังทดลองค่าเฉลี่ย = 13.13, S.D.= 4.22)   โดยคะแนนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และพบว่าเด็กออทิสติกมีคะแนนทางด้านการใช้ภาษาสูงกว่าก่อนเข้ารับกระบวนการกระตุ้น (ก่อนทดลองค่าเฉลี่ย = 8.40, S.D. = 4.69 หลังทดลองค่าเฉลี่ย = 14.27, S.D. = 6.03) โดยคะแนนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

สรุป ผลของกระบวนการกระตุ้นพัฒนาการภาษาของเด็กออทิสติกโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษา สามารถช่วยเพิ่มความสามารถทางภาษาของเด็กออทิสติกให้ดีขึ้นได้

References

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. เผยผู้ป่วยออทิสติกเข้าถึงการรักษาแค่ 15%. [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่ 3 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2014/04/6833. [10 มิถุนายน 2564].

กรมสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิตประสพผลสำเร็จพัฒนาเครื่องตรวจวินิจฉัยภาวะ “ออทิสติก” เด็กไทย ชุดแรกของประเทศ.[อินเตอร์เน็ต]. [26 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thansettakij.com/technology/323713. [10 มิถุนายน 2564].

สุชารัตน์ ลิมปะนพรัตน์. กลุ่มอาการออทิสติก. [อินเตอร์เนต]. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2564. [เข้าถึงเมื่อ10 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://th.rajanukul.go.th/academic/academics-data/mdg/1/268

พรพิริยา อภิพรจันทร์, เสาวรส แก้วหิรัญ. ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาโดยผู้ปกครองด้วยแบบส่งเสริม พัฒนาการ DSI. เชียงใหม่ : สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์; 2556.

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในเด็กออทิสติกอายุ 2-4 ปี ณ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนัครินทร์:โปสเตอร์เผยแพร่; 2554.

อาริสรา ทองเหม. การศึกษาผลการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์; 2560.

เบญจมาศ พระธานี. ออทิสซึม: การสอนพูดและการรักษาบำบัดแบบสหสาขาวิทยาการ.ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

งานอรรถบำบัด. คู่มือการสอนภาษาสำหรับครอบครัว ตามระดับภาษา 7 ระดับ. เชียงใหม่: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์; 2557.

คณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สถาบันราชานุกูล. คู่มือการประเมินและแก้ไขพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (DSI:300 ข้อ) สำหรับบุคลากรสาธารณสุข, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว; 2557.

ญาดา ธงธรรมรัตน์. ผลของโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพื้นฐานเด็กปฐมวัยออทิสติก [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การศึกษาปฐมวัย]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.

เดือนฉาย แสงรัตนายนต์. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกพูดเด็กพูดช้าโดยใช้คู่มือสำหรับผู้ปกครอง.วารสารราชานุกูล 2559; 31:1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21