ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อดิศักดิ์ บุญเสนอ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งหมด 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน ธันวาคม 2565 ถึง มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันและควบคุมโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันและควบคุมโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 51.8 (R2=0.518, R2adj=0.514, SEest=2.097, F= 123.82, p<0.001)   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. (2021, February 28). Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus

Disease 2019 (COVID-19). https://www.who.int/publications/i/item/report-of-the-who-china-joint-

mission-on-coronavirus-disease-2019-(covid-19)

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565)(2565, 15 ธันวาคม).Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard.

https://ddc.moph.go.th/index.php.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2564).ข้อมูลสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

(Covid 19). การสำรวจพฤติกรรมป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid 19). สำนักงาน

สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. http://www.sisaket.go.th/covid19

Haleem, A., Javaid, M., & Vaishya, R. (2020). Effects of COVID-19 pandemic in daily life. Current medicine

research and practice, 10(2), 78–79. https://doi.org/10.1016/j.cmrp.2020.03.011

Sintema, E. J. (2020). Effect of COVID-19 on the Performance of Grade 12 Students: Implications for STEM

Education. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 16(7), em1851.

https://doi.org/10.29333/ejmste/7893

นงเยาว เกษตรภิบาล. (2563). การศึกษาความรู ทัศนคติ และการปฏิบัติของประชาชนต่อผู้เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือผู้ที่

ถูกกักกันหรือผูกักกันตนเอง และผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19. คณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม. https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=258

อรรถจักร สัตยานุรักษ์, บุญเลิศ วิเศษปรีชา, ประภาส ปนตบแตง, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ณัฐพงศ์ จิตรนิรัตน, ธนิต โตอดิเทพย์, ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2563, 13 เมษายน). คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กําลังเปลี่ยนแปลง.

https://www.isranews.org/article/isranews/download/18017/87576/18. Html.

Wadood A, Mamun AS, Rafi A, Islam K, Mohd S, Lee LL, Hossain G. (2020). Knowledge, attitude, practice

and perception regarding COVID-19 among students in Bangladesh: Survey in Rajshahi University.

SciMedicine Journal, https://doi.org/10.1101/2020.04.21.20074757

Rahman A, Sathi NJ. (2020). Knowledge, Attitude, and preventive practices toward COVID-19 among

Bangladeshi internet users. ELECTRON J GEN MED, https://doi.org/10.29333/ejgm/8223

Bashirian, S., Jenabi, E., Khazaei, S., Barati, M., Karimi-Shahanjarini, A., Zareian, S., Rezapur-Shahkolai, F., &

Moeini, B. (2020). Factors associated with preventive behaviours of COVID-19 among hospital staff

in Iran in 2020: an application of the Protection Motivation Theory. The Journal of hospital

infection, 105(3), 430–433. https://doi.org/10.1016/j.jhin.2020.04.035

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. (2564). การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด – 19 ครั้งที่ 7.

อุบลราชธานี. https://hpc10.anamai.moph.go.th

วิรัญญา ศรีบุญเรือง, ธนรัตน์ นิลวัฒนา, ศิริโสภา สำราญสุข, กนกพร อนิรภัย, ศานสันต์ รักแต่งาม และ ปวีณา สปิลเลอร์.

(2564).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(1), 195-206.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพลและ จริยาวัตร คมพยัคฆ์.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)

ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 323-337.