ผลของโปรแกรมการส่งเสริมองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองการคิดเชิงบริหารขั้นสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในจังหวัดศรีษะเกษ

Main Article Content

Piyaporn Mongkonsiri

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองการคิดเชิงบริหารขั้นสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูหรือครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่องจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 80 คน และกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3-6 ปี ที่มีครูหรือครูพี่เลี้ยงเข้ารับการอบรมส่งเสริมองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองการคิดเชิงบริหารขั้นสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในจังหวัดศรีสะเกษ ครบถ้วน 2 วันและมีคะแนนอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 41 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Mc Nemar test และ Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างครูเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100.0  มีอายุเฉลี่ย 37.32 (S.D.=8.285 ปี) มีประสบการณ์ในการสอนเฉลี่ย 9.56 (S.D.=7.271 ปี) ก่อนการอบรมส่วนใหญ่ครูมีความรู้ทักษะสมองการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในระดับน้อย และ ปานกลาง ร้อยละ 61.4  คะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจทักษะการคิดเชิงบริหารของครูปฐมวัย หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05 ) คะแนนเฉลี่ยทักษะสมองการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยทั้งรายด้าน การยับยั้งชั่งใจ ด้านการคิดยืดหยุ่น ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการวางแผนจัดการ และภาพรวม หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารมีพัฒนาการอยู่ในระดับสมวัยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองจาก 37 คน (ร้อยละ 90.2) เป็น 40 คน (ร้อยละ 97.6) และมีพัฒนาการอยู่ในระดับสงสัยล่าช้าลดลงจาก 4 คน (ร้อยละ 9.8 ) เป็น 1 คน (ร้อยละ 2.4) แต่ไม่แตกต่างในนัยสำคัญทางสถิติ (p-value >0.05) ครูปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมสามารถจัดกิจกรรมและส่งผลให้เกิดการส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารทั้งรายด้าน และภาพรวม รวมไปถึงยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ดีขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564 มิถุนายน 7). การพัฒนาเด็กปฐมวัยกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81/

Unicef Thailand. (2564 พฤษภาคม). รายงานรวบรวมผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการระบาดโรคโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย.เข้าถึงเมื่อ25 มกราคม 2565 จาก https://www.unicef.org/thailand/th/reports

จิราภรณ์ แผลงประพันธ์ และสมชัย จิตสุชล. (2563 สิงหาคม 21). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครอบครัวที่มีเด็กเล็ก.เข้าถึงเมื่อ25 มกราคม 2565 จาก https://tdri.or.th/2020/08/covid19-impact-early-child/

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. (ม.ป.ป.). รายงานผลการวิเคราะห์การดำเนินงานด้านพัฒนาการ. เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์ระบาดของ COVID-19. เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565 จาก

https://nich.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/nich/n714_d1af4b5f0605e29afddc07787886bcac_report2563_24.pdf

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. (2563 พฤศจิกายน 23). สรุปผลการขับเคลื่อนงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564. เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565 จาก

https://nich.anamai.moph.go.th/th/cms-of-covid/

กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

Diamond A. (2013) Activities and Programs That Improve Children’s Executive Functions. Current Directions in Psychological Science, 21(5), 335–341.

Center of the developing child, Harvard University. (2012). Activities Guide: Enhancing and Practicing Executive Function Skills with Children from Infancy to Adolescence. Retrieved January 28, 2022, from https://developingchild.harvard.edu/resources/activities-guide-enhancing-and-practicing-executive-function-skills-with-children-from-infancy-to-adolescence/

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods, 39(2), 175-191.

Kuder, G.F., & Richardson, M.W. (1973). The theory of estimation of test reliability. Psychometrika, 2: 151-160

Caffarella, R. (2002). Planning Programs for Adult Learners: A Practical Guide for Educators, Trainers, and Staff Developers. New York: Jossey-Bass

ยุทธนา ศิลปรัสมี และคณะ. (2562). การศึกษาพัฒนาการไม่สมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี งบประมาณ 2560. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็กไทย ประจำปีงบประมาณ 2557. นนทบุรี : ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด ปุญญพัฒน์ไชยเมล์และ สมเกียรติยศ วรเดช. (2561). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1): 281-296

ประดับ ศรีหมื่นไวย และคณะ. (2560).ผลของโปรแกรมการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก.วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(2), 127–143

ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (2558). พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน : การศึกษาผลกระทบของปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบิดามารดากับบุตร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์

นุชนาฎ รักษี และคณะ. (2561).การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย.เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://op.mahidol.ac.th/ra/2018/08/15/cf_2561-06/

ประเสริฐ ผลผลิตการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.