การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมด้วยกลไก 3 หมอรู้จักคุณพื้นที่ต้นแบบ Sandbox อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Nathawuti Tansila
สมหวัง พิทักษา
มนตรี แก้วพวง
มินนา กงล้อม

บทคัดย่อ

  การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวคิด CIPP Model Evaluation การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการประเมินผลกระทบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมด้วยกลไก 3 หมอรู้จักคุณ พื้นที่ต้นแบบ Sandbox อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 1,047 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจากคณะกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระดับตำบลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดูแลผู้สูงอายุ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นักวิชาการสาธารณสุข ผู้จัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์สถิติพรรณนา (Descriptive statistic) ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และแก่นสาระของเนื้อความ (Thematic Analysis) ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน    2565 – มกราคม 2566 ผลการศึกษา พบว่า  1) การประเมินด้านบริบท มีนโยบายประเทศและเขตสุขภาพด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มวัยมีอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วย ในระดับอำเภอมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพ และมีการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care : LTC) ทุกตำบล  2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความพร้อมด้านบุคลากร ยังขาดความพร้อมงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์แลสถานที่  3) การประเมินด้านกระบวนการ มีการกำหนดแผนงานและปฏิบัติงานตามแผน โดยมีคณะทำงานและภาคีเครือข่าย ได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกำหนดบทบาท แผนการดูแลผู้สูงอายุ การคัดกรองและจัดบริการผู้สูงอายุ 4) การประเมินด้านผลผลิต พบว่า การประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ADL จำนวน 1,047 คน มีผลคะแนนรวม ADL ตั้งแต่ 0 – 4 คะแนน ร้อยละ 3.34 มีผลคะแนนรวม ADL ตั้งแต่ 5 – 11 คะแนน ร้อยละ 36.67 และมีผลคะแนนรวม ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป ร้อยละ 59.98  ดังนั้นการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ควรมีนโยบายที่ชัดเจน มีการสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่อย่างพียงพอ มีแผนงานที่ชัดเจน และมีการทำงานงานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง จึงจะทำให้การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ.(2562).มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) กระทรวงการ

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง,2 (2562) :16-19.

กรมอนามัย.(2565).Long Term Care :LTC ผู้สูงอายุ.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.เข้าถึงได้จาก

http://ltc.anamai.moph.go.th

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ.(2553).แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 -2564).กระทรวงพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์:เทพเพ็ญวิสย์.กรุงเทพฯ.

นภัค นิธิวชิรธร.(2561).การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม.ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

กระทรวงสาธารณสุข.

ณิสาชล นาคกุล.(2561).ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปบแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในเขตเทศบาลนคร

สุราษฎร์ธานี.

บุญชิน เสาวภาภรณ์, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ,ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์, และวรางค์ภรณ์ ไตรศิลานันท์.(2557). รูปแบบการ

ส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระ

บรมราชูปถัมภ์:2557:9(1) :47-59.

บุหลัน สุขเกษม,มลฤทัย ทองพิละ, และศิริยา ศิริปุระ.รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของ

ชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จัหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ

ศรีสะเกษ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.2565.

ธเนศ ขำเกิด.(2546).การประเมินทั้งระบบด้วย CIPP.วารสารเทคโนโลยี(สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น).30(169)

(มิ.ย.-ก.ค.46).หน้า 81-82.เข้าถึงได้ http://www.gotoknow.org.posts.

ราณี วงศ์คงเดช,ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์, และอดิศร วงศ์คงเดช.(2564) บทเรียนการดำเนินงานตามนโยบายดูแลสุขภาพ

ผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 7.วารสารการวิจัย ปีที่ 10 ฉบับที่ 1มกราคม-มิถุนายน 2564.คณะสาธารณสุข

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.อุบลราชธานี.

รัตนะ บัวสนธ์.(2556)รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้วารสาร

ศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย,2556 : 5(2) : 7-24.

วิภาพร สิทธิศาสตร์,และสุชาดา สวนนุ่ม.(2550).พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เขตความรับผิดชอบของ

สถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชิน

ราช.:25-35.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี.(2561).รายงานผลการตรวจราชการระดับเขต (ตก.2) [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ:กองตรวจราชการ

กระทรวงสาธารณสุข.2561[เข้าถึงได้ 20 ม.ค.2562] เข้าถึงได้จาก : http://bie.moph.go.th/e-

insreport/reporttk2_ch.php?nasubject_id=74&id_regroup=2&id_area=9&around=2&id_group=

&year=2561

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี.(2566).ข้อมูลทั่วไปเขตสุขภาพที่10 ปีงบประมาณ 2566.สำนักงานเขตสุขภาพ

ที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเบญจลักษ์.(2565).รายงานผลการปฏิบัติงานคัดกรองผู้สูงอายุผ่านระบบ 3 หมอรู้จักคุณ

ปีงบประมาณ 2565.งานควบคุมโรคไม่ติดต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2556)..การคาดประมาณประชากรชองประเทศไทยปี 2553-

กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เดือนตุลา,2556.

สำนักงานตรวจราชการ.(2561).คู่มือตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ ประจำปี 2560.กระทรวงสาธารณสุข.

นนทบุรี,2561.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.(2565).ข้อมูลการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term

Care) ปี 2565.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,ที่มา DoH Dashboard กรมอนามัย (สำนักอนามัยผู้สูงอายุ)

กระทรวงสาธารณสุข:วันที่ประมวลผล 10 พฤษภาคม 2565.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์,ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล,วิชช์ เกษมทรัพย์, และบวรศม ลีระพันธ์.(2561).โครงการวิจัยเพื่อพัฒนา

ระบบการดูแลระยะยาว (long Term Care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ

แห่งชาติ.แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตรชุมชน คณะ

แพทยศาสตร์. โรงพยาบาลรามาธิบดี,2561

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2559).กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพสุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ.2559-2563,

(มปท.),2559.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.(2553).พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิมพ์

ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวาน,2553.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.(2561).”ตัวชี้วัดเฝ้าระวัง ร้อยละของผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์”.เอกสารอัด

สำเนาในการประชุมชี้แจงการเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 20 กุมภาพันธ์ 2561.กรมอนามัย กระทรวง

สาธารณสุข.นนทบุรี.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.(2563).หลักสูตรการฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี.

อุดม อัศวตมางกูร.นโยบายการดำเนินงานผู้สูงอายุของประเทศไทย.สืบค้นจาhttp://dental2.anamai.moph.go.th/

download/aticle/นโยบายการดำเนินงานผู้สูงอายุของประเทศไทย.13_14_12_59 pdf.

เอกชัย เพียรศรีวัชรา,สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล,วิมล บ้านพวน,ธีระ ศิริสมุด,แก้วกุล ตันติพิสิฐกุล,ผศ.ดร.ลี่ลีอิง ศรีสว่าง,

ดร.นพ.ยศ ดีระวัฒนานนท์.(2556).รายงานการสำรวจผู้สูงอายุไทย.โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้าน

สุขภาพภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการและสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.กรุงเทพฯ:

วัชรินทร์ พีพี.2556.

Daniel I.Stufflebeam.(2018).The CIPP Model for Evaluation.International Hanbook of Educational

Evaluetion.Kalamazoo.Michigan University : The Evaluation CenerWestern;(2003) [cited 2018 Nov

Available form : http://link.sptinger.com/chapter/10.1007/9+78-94-010-0309-4_4

https:// 3 doctor.hss.moph.go.th/main/rp_screen.

https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/longtermcare.

Tokuda Y, & Hinohara S,(2008).”Geriatric Nation and Redefinting the Elderly in Japan”.International

Journal of Gerontology,2(4).

World Health Organization [WHO].(2015).Wold Report on Ageing and Health [Internet].Luxembourg:(2015)

[cited 2018 Nov 29].Available from: http://www.who.int/ageing/events/wold-report-2015-

launch/en/