การพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 รวมระยะเวลา16 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดระบบบริการปฐมภูมิ จำนวน 81 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินรูปแบบได้แก่ประชาชนในเขตอำเภอเบญจลักษ์จำนวน 100 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คือ SAMAI Model 1) Structure& Policy: มีคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน 2) Analysis (Situation analysis): มีการวิเคราะห์สถานการณ์ตามสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ 3) Management: การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ (คน เงิน ของ) 4) Action & Refection: การลงมือปฏิบัติตามแผนและสะท้อนผลการทำงาน 5) Integration & Cooperation:บูรณาการและการประสานงานความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ จากผลการวิจัยที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานการจัดระบบบริการปฐมภูมิและการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของพื้นที่ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
สำนักนายกรัฐมนตรี.(2561). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาภาพชรวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร:
สำนักนายกรัฐมนตรี: 2561.
สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย.(2561). คู่มือประกอบการพิจารณาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข 2561.
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ.(2565). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566. นนทบุรี:
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2565.
พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562.(2562). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 65 ก.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันเพ็ญ ปัณราช. ( 2552). การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เบญจวรรณ ผิวผ่อง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง
พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ
ระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศักรินทร์ ทองภูธรณ์. (2553). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลดาวัลย์ จ้อยประดิษฐ์. (2553). กระบวนการจัดการและผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ
ท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิรัติ ปานศิลา. (2551). การยกระดับการให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ระดับก้าวหน้า. นนทบุรี:
สถาบันพระปกเกล้า (สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ :UNDP)
สมชาย ยอดดี. (2554). ผลการประยุกต์เทคนิค ORID และการวางแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
การจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
World Health Organization. (2015) WHO global strategy on people-centred and interested health service’
Geneva: World Health Organization;
Pongsupap Y, Van Lerberghe W. Peple-centred medicine and WHO’ renewal of primary health care.
Journal of Evaluation in Clinical practice 2011; 17(2); 339-40.