ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 – 70 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบ้านปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Rujira Ampan
Tanomsri Intanon

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สตรีอายุ 30 – 70 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบ้านปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 47.12 ปี ร้อยละ 35.10 ระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.00  และทัศนคติต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.00 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.338, P-value < 0.001) เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองพบว่าปัจจัยด้านด้านทัศนคติ มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.416, P-value < 0.001)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. แนวทางการดำเนินงานโครงการ สืบสานพระราช

ปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. สืบค้น 10 มกราคม 2566, จาก http://www.thanyarak.or.th/breast_project_activity_detail.php?id=3

ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วย

ตนเองและพฤติกรรมเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัย ผู้ใหญ่ในเขตเทศบาล

นครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 166-176.

พงศกร ศรีจันทร์. (2555). ผลกระทบของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาล่าช้าต่อ ระยะของโรค

และชนิดของมะเร็งเต้านม.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(1)

-180.

วรรณี ศักดิ์ศิริ. (2557). ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปในเขต

รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนคา. การศึกษาอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนีย์ ชมภูนิช. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรี อายุ 35 – 59 ปี

ในเขตตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. งานวิจัย โปรแกรมวิชาสุขศึกษา คณะ วิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีมหา วิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, ปนัดดา ปริยทฤฆ, และกนกพร หมู่พยัคฆ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมการ

ตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(3), 42-51.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2560). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2561-2565. กรุงเทพฯ:

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

SISAKET HOSPITAL Based Cancer Registry 2021 สืบค้นได้จากhttp://www.sskh.moph.go.th/news/

-12-22110517_1 สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566.