ผลของโปรแกรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยทางจักษุเบื้องต้น สำหรับแพทย์ เวชปฏิบัติทั่วไป ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และโรงพยาบาลชุมชนเครือข่าย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยทางจักษุเบื้องต้นและความพึงพอใจก่อนและหลังได้รับโปรแกรมให้ความรู้ ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษและโรงพยาบาลชุมชนเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างได่แก่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษและโรงพยาบาลชุมชนเครือข่าย จำนวน 35 คน ดำเนินการวิจัยช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 22 เมษายน 2566 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดระดับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยทางจักษุเบื้องต้น และแบบวัดความพึงพอใจต่อโปรแกรมให้ความรู้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษาพบว่าแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยทางจักษุเบื้องต้นก่อนเข้าโปรแกรม เท่ากับ 10.66 และหลังเข้าโปรแกรม 16.97 โดยมีช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 อยู่ที่ 4.94 ถึง 7.69 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยทางจักษุเบื้องต้นหลังเข้าโปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) และความพึงพอใจต่อโปรแกรมให้ความรู้ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.38 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ ได้แก่ 1.ควรนำโปรแกรมให้ความรู้นี้ไปใช้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางจักษุ ให้กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปต่อไป 2.วิจัยนี้ยังมีข้อจำกัดคือการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในอนาคตอาจจะต้องทำวิจัยแบบสุ่มเพื่อจะให้เกิดความมั่นใจในโปรแกรมให้ความรู้มากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
Best JW. Research in Education. Englewood Cliffs, NJ: PrenticeHall. Inc; 1970.
Bloom BS. Learning for mastery. Paper reprinted from Evaluation Comment-Center for
study of Instructional Programme at the University of California. 1968.
Churyen A, Chaeye K, Samerchua W, Panyoyai P. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อ
ความรู้ในการควบคุมการบริโภคยาสูบของนักศึกษาพยาบาล. Nursing Journal.
;49(2):128-39.
Phetprasit N, Laimek S, Thiangchanya P. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองต่อ
ความรู้และทักษะการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยของพยาบาล ห้องผ่าตัด. Nursing
Journal. 2022;49(4):220-32.
Thongpo P, Udomchaikul K. ผลของโปรแกรมอบรมการช่วยชีวิตต่อความรู้ การรับรู้ สมรรถนะ ของ
ตนเอง ในการช่วยชีวิต และ ความสามารถในการกดหน้าอกของ นักศึกษาพยาบาล.
Ramathibodi Nursing Journal. 2020;26(1):107-21.
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ก. สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย 2021 [Available
from: https://www.dop.go.th/th/know/15/926.]
กันยา นันต๊ะแก้ว, แววดาว คำเขียว, ประกายดาว สุทธิ, อุไรวรรณ สาสังข์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุน
และ ให้ความรู้ต่อความรู้ และ พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัย
พะเยา. Thai Journal of Nursing Council. 2016;31(2):69-80.
การศึกษาก่อนปริญญา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. Short
Note จักษุศิริราช. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2565.
สิทธิพรร์ สุนทร, วัชรินทร์ สุทธิศัย, พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์, รัชนิดา ไสยรส, ภัณฑิลา น้อยเจริญ. แนวคิด และ
กระบวนทัศน์ ในการกำหนด ขนาด ตัวอย่าง ด้วย G* Power. วารสาร สหวิทยาการ วิจัย: ฉบับ
บัณฑิตศึกษา. 2020;8(S):29-39.