ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 330 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระยะเวลาในการวิจัยระหว่างวันที่ 11 มีนาคม 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 ใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาปัจจัยทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม แสงสว่างในบ้านและห้องน้ำ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มและเพศหญิง โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 20.30 (R2=0.203, R2adj=0.178, SEest= 4.215, F= 8.221, p < 0.016) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 จากผลการวิจัยพบว่าแนวทางการป้องกันการการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
อ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข,กรมอนามัย,(2562) คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย.
กระทรวงสาธารณสุข,กรมอนามัย,(2565) คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย.
กระทรวงสาธารณสุข,กรมอนามัย, คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว(Individual Wellness Plan) สำหรับผู้สูงอายุ, 2563.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565) สถานการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. https://ddc.moph.go.th/odpc7/news.php?news=26077&deptcode=odpc7
นิพา ศรีช้างและลวิตรา กำวี.(2564). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 – 2564.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, ระบบสถิติทางการทะเบียน, สถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ.(ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566). จาก: https://bluebook.anamai.moph.go.th/
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย,(2556).รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556,สำนักส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข.(2565).สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุไทย ปี 2564.สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กองสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2566).ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน. (ออนไลน์) 2564(อ้างเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566).จาก:http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/changwat?year=2023&cw=33.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ(อายุ60ปีขึ้นไป)ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560-2564
ตวงรัตน์ อัคนานและคณะ.(2564).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2564.หน้า 72-89.
โสภิตตา แสนวา,เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์,นิภา มหารัชพงศ์ผล.(2565).ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกบัแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกนัการพลดัตกหกล้มของผู้สูงอายุในอำาเภอเกาะจันทร์จังหวดัชลบุรี วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565.214-217.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ(อายุ60ปีขึ้นไป)ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560-2564
วรรณวิภา มาลัยทอง. (2552). ประสิทธิภาพของการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ณ บ้านทุ่งเหียง ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา. เวชสารแพทยทหารบก ปีที่ 62, ฉบับที่1 (มกราคม- มีนาคม 2552)
รุจิรา ดวงสงค์, จุฬาภรณ์ โสตะ, ไพบูลย์ สิทธิถาวร, พงษ์เดช สารการ, และสุพรรณี ศรีอำพร,. (2550). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับประชาชน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์.
รัชนีวรรณ แก้วโพนเพ็ก. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ร่วมกันแรง สนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งนำไปสู่การเป็นโรค มะเร็งท่อน้ำดีในเด็กนักเรียนประถมศึกษาตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิลาวรรณ สมตน.(2556).ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาล สาธารณสุข, 27(3). 58-70.
อริสรา บุญรักษา.(2564).ปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์.(2564).บทความปริทัศน์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอาย วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2.หน้า119-131.
American Geriatrics Society. (2001). “Guideline for the prevention of falls in older persons,” Journal of the Americangeriatrics society. 49; 664-72.
Bloom, B. S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP evaluation Comment. Losangeles, 1(2). book/esyb57/files/assets/basic-html/index.html#19]
Junling Gao,Jingli Wang, Pinpin Zheng, Regine Haardörfer, Michelle C Kegler, Yaocheng Zhu and Hua Fu.(2013). Effects of self-care, self-efficacy, social support on glycemic control in adults with type 2 diabetes. Gao et al. BMC Family Practice 2013,http://www.biomedcentral.com/1471-2296/14/66.
International Osteoporosis Foundation. (2009). Identifying people at high risk of fracture From:
http://osteoporosis.org.za/general/downloads/FRAX-report-09.pdf
United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2020). World Population Ageing 2019 (ST/ESA/SER.A/444). New York: United Nations.