ปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ธนสิทธิ์ สุจริตภักดี
พุทธิไกร ประมวล

บทคัดย่อ

กการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 161 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านองค์กร และความสุขของบุคลากรในองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของบุคลากร โดยใช้ด้วยสถิติ Multivariable linear regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted mean difference และช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.81 อายุเฉลี่ย 39.22±11.03 ปี จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 58.39 ระยะเวลาปฏิบัติงาน 13.16±10.34 ปี รายได้ 10,000-19,000 บาท ร้อยละ 31.06 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 45.34 และมีภาระหนี้สิน ร้อยละ 90.06 ปัจจัยองค์กรด้านนโยบายและการบริหาร ด้านรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ สภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน และวัฒธรรมองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.93, 63.35, 47.83 และ 54.66 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ย 32.35±5.69, 18.73±4.38, 24.93±4.49 และ 17.97±3.60 คะแนน ตามลำดับ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงาน และโอกาสความก้าวหน้าในงาน อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 62.73 และ 52.80 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ย 30.52±5.11 และ 25.64±4.17 คะแนน ตามลำดับ และปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีอยู่ 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงาน ด้านโอกาสความก้าวหน้าในงาน และด้านสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน โดยบุคลากรที่มีคะแนนปัจจัยด้านรายได้ค่าตอบแทนสวัสดิการในระดับปานกลาง และระดับมาก จะมีคะแนนองค์กรแห่งความสุขในองค์กรมากกว่าระดับน้อย (Adjusted mean diff = 3.09, 95% CI : 0.07-6.11, Adjusted mean diff = 7.48, 95% CI : 3.44-11.52) บุคลากรที่มีปัจจัยด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในองค์กร ด้านโอกาสความก้าวหน้าในงาน และด้านสถาพแวดล้อมสภาพการทำงาน อยู่ในระดับดี จะมีคะแนนองค์กรแห่งความสุขในองค์กรมากกว่าระดับไม่ดีพอ 4.76 คะแนน (Adjusted mean diff = 4.76, 95% CI : 2.12-7.41), 4.01 คะแนน (Adjusted mean diff = 4.01, 95% CI : 1.42-6.61) และ 2.33 คะแนน คะแนน (Adjusted mean diff = 2.33, 95% CI : 0.23-4.41) ตามลำดับ ดังนั้น ผู้บริหารหน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรมีการบริหารจัดการค่าตอบแทนและจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เน้นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี และสนับสนุนความก้าหน้าของบุคลากรในองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อุมาวรรณ วาทกิจ. (2560). ปัจจัยสำคัญเป็นองค์กรแห่งความสุข กรณีศึกษา ธุรกิจโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3); 121-131.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์, จุลัยวรรณ ด้วงโคตะ และนพพร ทิแก้วศรี. (2556). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. นนทบุรี: บริษัท สองขาครีเอชั่น จำกัด.

สานิตย์ เพชรสุวรรณ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. สืบค้นจาก http://hr.ptho.moph.go.th/fileupload/dep_10_20210830686449995.pdf.

ปัทมาภรณ์ กุสุมภ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีย์สุดา ญวนแม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลักในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 6(2); 92-111.

พรชัย จันศิษย์ยานนท์, ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ และพูลศักดิ์ โกสัยวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกจากราชการของบุคลากรทางการแพทย์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1); 201-213.

วาโย อัศวรุ่งเรือง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของแพทย์จากสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงธัญบุรี.

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc: 174.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์. (2561). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกิร์ก, 36(2); 121-144.

สมโภช บุญวัน, สมโภช รติโอฬาร และวรางคณา จันทร์คง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3); 139-151.

ฐิตารีย์ ยงค์ประวัติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัยและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงานกับความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1); 148-155.

กฤษณา บุณโยประการ. (2560). ระดับความสุขและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา วันนา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34); 97-108.