ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจและกระบวนการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Thammanoon Khamchalee

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจและกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโนนคูณ  อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ    กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 90  คน โดยกลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ผู้สูงอายุตำบลลิ้นฟ้า  อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมการดูแลตามระบบปกติของสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม 2566  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยของการสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตัวเองของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองแสดงว่าโปรแกรมการที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข,กรมอนามัย,(2562).คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย.

กระทรวงสาธารณสุข,กรมอนามัย.(2563).คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว(Individual Wellness Plan) สำหรับผู้สูงอายุ.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, ระบบสถิติทางการทะเบียน, สถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ. (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566). จาก: https://bluebook.anamai.moph.go.th/

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2566).ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน. (ออนไลน์) 2564(อ้างเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566).จาก:http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/changwat?year=2023&cw=33.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2564) คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี2564, https://ricd.go.th/webth2/wp-content/uploads/2021/06/Health-Service-System-Standards-Year-64.pdf.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค.(2565). กระทรวงสาธารณสุข.Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard https://ddc.moph.go.th/index.php. มกราคม.

จิรานันท์ วงศ์สุวรรณและคณะ (2563). การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอำาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่.พยาบาลสาร ปีที่ 47 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2563.

น้ำทิพย์ ยิ้มแย้มและคณะ (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2560.

ปัทมาผาติภัทรกุลและคณะ (2561).ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผ้สูงอายุในชุมชน.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี ที่ 12 (ฉบับพิเศษ) ก.ค. –ธ.ค. 2561.

ปิติคุณ เสตะปุระและ ณัฐธกูล ไชยสงคราม ( 2564).ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).(2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย,2563.(2563)รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2563.สำนักส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.).(2559).คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

World Health Organization.(2020). Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). 16-24 February.

United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2020). World Population Ageing 2019 (ST/ESA/SER.A/444). New York: United Nations.

Bloom BS. (1968 ). Learning for mastery. Evaluation comment, 1(2). Center for the study of evaluation of instructional programs, University of California, Los Angeles, USA.

Bloom, B.S. (1956).Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals handbook I: Cognitive domain. New York: McKay.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health education monographs, 2, 324-473.

Haleem A, Javaid M, Vaishya R. Effects of COVID 19 pandemic in daily life. CMRP. 2020;10:78-79, 2020.Sintema EJ. Effect of COVID-19 on the performance of grade 12 students: Implications for STEM education. EURASIA J Math Sci Tech Ed. 2020; 16(7), em1851, 2020.

Gibson, C.H. (1991). “A Concept Analysis of empowerment,” Journal of Advance Nursing. (16) : 354-361.

Lemeshow S, Hosmer.(1990). D.W, & Klar J. Jr. Adequacy of Sample Size in Health Studies. New York: John Wiley & Sons Inc.

Lewin, Kurt.(1951). “Field. Theory and Leaning” Ind. Cartwright Field theory in Social Science:Selected Theoretical. New York:Harper and Row.

Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital.(2021).Report of patients with depressive disorder who access the medical service. Ubon Ratchathani: Prasrimahabhodi Psychiaric Hospital,; 2021 [cited 2022 Sep 7]. Available from: https://thaidepression.com/www/report/main_report/