ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สมควร พรหมคุณ, ส.ม.

บทคัดย่อ

           


การศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วยด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด 3 Self ด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 คน และจัดเวทีสนทนากลุ่ม (Focus Group) แลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอยางชุมน้อย 21 คน เพื่อหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และนำแนวทางที่ได้มาปรับใช้ในชุมชน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ติดตามประเมินผล เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired simples t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการฯ เท่ากับ 11.2 และ 14.4 ตามลำดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-20.100, p<0.05) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการ เท่ากับ 41.4 และ 45.6 ตามลำดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-17.999, p<0.05) ดังนั้น ควรมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน อย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการติดตามดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง สามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา และคณะ.(2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควบคุมไม่ได้. วารสารกองการพยาบาล, 2560;44(2),141-158.

มยุรี เที่ยงสกุล และสมคิด ปานประเสริฐ.(2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข, 2562;28(4),696-710.

พรพิมล พงษ์สุวรรณ์.(2553). การพัฒนาการดูแลโรคเรื้อรังสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยางชุมน้อย.(2564). สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยางชุมน้อย. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยางชุมน้อย.

สำนักนายกรัฐมนตรี.(2564). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย “การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. Retrieved เมษายน 20, 2564, from สำนักนายกรัฐมนตรี: https://multi.dopa.go.th/legal/news/cate1/view43. 2561.

เสรี ราชโรจน์. (2537).หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและการจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

World Health Organization.(2021). The global burden of disease 2021 update. Retrieved April 3, 2021, from http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/GBD_report_2021 update_ full.pdf.