การศึกษาประสิทธิผลของการใช้ High Flow Nasal Cannula ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เฉลิมพล ธิปเทศ, พ.บ.

บทคัดย่อ

              การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน ความล้มเหลว ในการรักษาจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวนวันนอน ค่าใช้จ่ายในการรักษา ในผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาแบบ conventional กับแบบ HFNC  กลุ่มตัวอย่างคือทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ในรพ.กันทรลักษ์คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.1.9.4 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 100 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบเก็บข้อมูล ประกอบด้วย  2 ส่วน  ได้แก่ข้อมูลทั่วไป และผลการรักษา ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเก็บรวบรวมข้อมูล    จากฐานข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2565 รวม 4 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-Square test , Independent t test


             ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการรักษาแบบ conventional 48 คน(48.0%) รักษาแบบ HFNC 52 คน(52.0%) กลุ่มที่รักษาแบบ HFNC มีผลการรักษาที่ดีกว่ากลุ่ม conventional ส่วนด้านภาวะแทรกซ้อน ความล้มเหลว  ในการรักษาจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ พบว่า กลุ่ม HFNC มีน้อยกว่ากลุ่ม conventional   โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<0.001) โดยกลุ่ม conventional มีอัตราการล้มเหลวจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ  97% ส่วนกลุ่ม HFNC มีอาการดีขึ้น 84% ส่วนจำนวนวันนอน และค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่แตกต่างกันทางสถิติ ทั้งกลุ่มที่รักษาแบบ conventional กับ HFNCโดยทั้ง 2 กลุ่มมีจำนวนวันนอนเฉลี่ย ประมาณ 5 วัน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ประมาณ 17,000 บาท ผู้ป่วยทั้ง2 กลุ่มมีข้อมูลทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน โดยส่วนมาก คลอดครบกำหนด น้ำหนักแรกคลอดอยู่ในช่วง 2500-3500 กรัม และส่วนมากคลอด normal labor พบผู้ป่วยมี birth asphyxia  3 คน , meconium 4 คน กลุ่ม conventional พบมี twin 2 คน ,  BBA 1 คน , shoulder dystocia 1 คน  กลุ่ม HFNC พบมี placenta previa       1 คน , BBA 1 คน Main disease พบว่ากลุ่มที่รักษาด้วย conventional และ HFNC มีโรค early onset neonatal sepsis ร้อยละ 50.9 และ 49.1 มีโรค congenital pneumonia ร้อยละ 50 และ 50 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ


            ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ควรพิจารณา     ใช้ HFNC เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดการใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

เฉลิมไทย เอกศิลป์. การรักษาด้วย High Flow Nasal Canula ในเด็ก. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, บรรณาธิการ. The Acute Care. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2558. 387-396.

ภัณฑิลา สิทธิการค้า. การศึกษาเปรียบเทียบ การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากด้วย การให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนตามการรักษาปกติ. Available from : http://www.thaipedlung.org/download/chula_panthila_edited. Pdf

สญุมพร ชอบธรรม, พรมนัส พันธุ์สุจริตไทย. ผลกระทบทางคลินิกของการใช้ออกซิเจนเสริม ชนิดอัตราการไหลสูงต่อการรักษาผู้ป่วยเด็ก ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในโรงพยาบาล สระบุรี. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562; 58: 88-94.

อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะ หายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562; 58: 175-80.

Debbie, F. (2019). The effect of high flow nasal cannula weaning protocol on decreasing length of stay in pediatric intensive care (Doctor of nursing practice). University of Louisville School of Nursing.

Frat, J., P., Coudroy, R., Marjanovic, N., & Thille, A, W. (2017). High-flow nasal oxygen therapy and noninvasive ventilation in the management of acute hypoxemic respiratory failure. Annual of Translational Medicine, 5(14) 289 – 297

Hasan R, Rhodes J, Thamthitiwat S, et al. Incidence and etiology of acute lower respiratory tract infections in hospitalized children younger than 5 years in rural Thailand. Pediatric Infect Dis J 2014; 33: e 45-52.

Ji – Won K. High –flow nasal canula oxygen therapy in children: a clinical review. Clinical and Experimental

Pediatrics 2020; 63(1): 3-7.

Mayfield J, Jauncey – Cooke J, Hough JL, Schibler A, Gibbons K, Bogossian F. High – Flow nasal canula therapy for respiratory support in children. Cochrane Database Syst Rev. 2014; 7: CD009850

Mayfield, S. A. (2015). Evidence for the use of high flow nasal cannula therapy for respiratory management in pediatric units (Doctor of Philosophy). The University of Queensland School of Nursing, Midwifery and

Social Work

Nugboon, M., Santati, S., & Preutthipan, A. (2020). The development and evaluation of clinical nursing practice guideline for modified high flow nasal cannula system in pediatric patients. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice, 7(2), 25-40. (in Thai)

Osama H, Christoher TE, Padmanabhan R. A nationwide survey on the use of heated humidified high flow oxygen therapy on the pediatric wards in the UK: current practice and research priorities. BMC Pediatrics 2020; 20: 109.

Sajith, K., & Bala, R. (2016). Humidified high-flow nasal cannula oxygen therapy in children-a narrative review. Journal of pediatric critical care, 3, 29-34