การพัฒนาความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วิสิฐศักดิ์ พิริยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาและพัฒนาความรู้และความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบรู้และความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลก่อนใช้โปรแกรมและหลังใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ จำนวน 150 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเมษายน – พฤษภาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมพัฒนาความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหา (Content Validity) และแบบสอบถามการวิจัยเรื่องความรอบรู้ ในการดูแลสุขภาพของผู้ดูแล มีทั้งหมด 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบวัดการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ  ส่วนที่ 3 แบบวัดการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ ส่วนที่ 4 แบบวัดการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ส่วนที่ 5 แบบวัดการประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพ และส่วนที่ 6 ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังดำเนินการด้วยสถิติ Paired t-test


            ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลโดยรวม พบว่า ผู้ดูแล  ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 90.00) โดยมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ 34.62 (S.D. = 5.12 และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 93.3) โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 13.22 (S.D. = 1.51) หลังใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล ผู้ดูแลมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมากกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังใช้โปรแกรมผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมากกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปาริชาต รัตนราช, กชพงศ์ สารการ และไพรวัลย์ โคตรตะ. (2563) ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทวัฒธรรมท้องถิ่นอีสาน. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 21(1),147-156

ฐานข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). สืบค้นจากhttps://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/

วัชราพร, เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 182-197.

Deeken F, Rezo A, Hinz M, Discher R, & Rapp MA. (2019). Evaluation of technology-based interventions for informal caregivers of patients with dementia-a meta-analysis of randomized controlled trials. The American Journal of Geriatric Psychiatry : Official Journal of the American Association for Geriatric Psychiatry, 27(4), 426-445.

Department of Older Persons. (2021). สถิติผู้สูงอายุ [Statistics on older persons]. Retrieved from https://www.dop.go.th/th/statistics

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. (2016). This report, situation of the Thai elderly. Bangkok: Author. Retrieved from https://thaitgri.org/?p=38427 (in Thai)

Sorensen, Kristine, et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(1), 80.

United Nations. (2021). World population prospects 2019: Highlights. Retrieved from https://population.un.org/wpp/Publications/Files/WPP2019_10KeyFindings.pdf

World Health Organization. (2017). World report on ageing and health. World Health Organization.