ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของผู้สูงอายุ ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง(Cross-sectional study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของผู้สูงอายุ ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 201 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยนำเอาจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดมาแบ่งตามหมู่บ้านและเลือกสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้วิธีการจับฉลากแบบไม่คืนที่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) การหาความสัมพันธ์ใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficient)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.2 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 69 ปี อายุ ต่ำสุด คือ 60 ปี มากที่สุด คือ 90 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 60-67 ปี ร้อยละ 46.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 68.2 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 93.5 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 79.5 รายได้ น้อยสุด 600 บาท มากที่สุด 5,000 บาท ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 0-1,000 บาท ร้อยละ 79.6 สิทธิด้านการรักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 96.0 กลุ่มตัวอย่างมีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ร้อยละ 58.7 ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 57.6 การเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 ร้อยละ 63.2 เหตุผลในการรับบริการมากที่สุด คือ สมัครใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนด้วยตนเอง ร้อยละ 52.2 ประวัติการเกิดอาการข้างเคียงภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 พบว่า มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ 32.3 พบอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 มากที่สุดคือ มีไข้ ร้อยละ 46.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความเชื่อด้านสุขภาพปานกลาง ร้อยละ 54.2 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและระดับการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพจำแนก เป็น รายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคโควิด-19 สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 2.31 รองลงมา คือ การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรค โควิด-19 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 และการรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันโรคโควิด-19 โดยมีค่าเฉลี่ย 2.26 ,2.21 และ 2.21 ตามลำดับ มีแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องระดับ ปานกลาง ร้อยละ 72.6 โดยมีค่าเฉลี่ยระดับแรงจูงใจ เท่ากับ 2.20 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 (r = 0.310, p-value = <0.001) การรับรู้ความรุนแรงต่อการเป็นโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = 0.194, p-value = 0.006) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของ
1นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักขะ ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
อีเมล์: natnvp2008@gmail.com
ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = -0.141, p-value = 0.46) ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r = 0.206 p-value = 0.003) ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคโควิด-19 ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ต่อเนื่องของผู้สูงอายุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2542) กรมประชาสงเคราะห์. ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย.กรุงเทพมหานคร : กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.
กระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (2552).รายงานสถานการณ์สภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุไทย : สถานการณ์สุขภาพไทย ธันวาคม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต.(2558) แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด:วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 104-114.
กัมปนาท โคตรพันธ์และ นิยม จันทร์นวล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัยครั้งที่ 16 (148 -160).
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). วัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 (COVID-19) ของประเทศไทย, สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564).แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19).สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง.นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ .(2555) รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. นนทบุรี :บริษัท เอสเอสพลัส มีเดีย จำกัด.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ.(2560) รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี :บริษัท เอสเอสพลัส มีเดีย จำกัด.
จงกลณี ตุ้ยเจริญ และคณะ. (2563). การรับมือไวรัสโคโรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.
ชุดา จิตพิทักษ์. (2555) พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สารมวลชน.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์นีละไพจิตร และณัฐนารี เอมยงค์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เรื่องโครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องโรคการปฏิบัติตัวและการได้รับวัคซีน โควิด -19 ของประชาชนกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้พิการทางการเห็น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 4(1), 33-48.
ดวงใจ รัตนธัญญา.(2555) สุขศึกษา: หลักและกระบวนการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ไทยรายวัน.
นันทา ขุนภักดี. (2530) การวิเคราะห์ความเชื่อของชายไทยในสวัสดิรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภชา สิงห์วีรธรรม.(2564) ศึกษาความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.ปีที่ 15 ฉบับที่ 2: พฤษภาคม-สิงหาคม.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สวิง สุวรรณ. (2536). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.15 โรงพยาบาลพระราม 9.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2556 )ทัศนคติ :การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย, พิมพ์ครั้งที่.2 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ปิยอร วจนะทินภัทร.(2565) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 15 ฉบับที่ 37. พฤษภาคม - สิงหาคม.(282 - 291).
พรทิวา มีสุวรรณ. (2551) การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยความต้องการข้อมูลและความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดหูคอจมูกในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ : วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร. มี.ค.-เม.ย.; 26 [2] : 185-193.
พงษ์ศักดิ์ สังขภิญโญ. (2543)วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 3, ฉบับที่ 4 2543, 1513-0096
ภัคณัฐ วีรขจร,โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์, นภชา สิงห์วีรธรรม. (2563) การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์จังหวัดชายแดนภาคใต้ : วารสารสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). รายงานการได้รับวัคซีคป้องกันโรคโควิค-19 ของนักศึกษา. ปทุมธานี.
โยธิน ศันสนยุทธ และคณะ. (2553). จิตวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์
ส่งเสริมวิชาการ.ราชบัณฑิตยสถาน. (2546) พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วสันต์ ศิลปสุวรรณ และพิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. (2555). การวางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพ: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เจริญดีการพิมพ์.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล.(2542) หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภพ เรืองตระกูล.(2547) ตำราจิตเวชผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรืองแก้วการพิมพ์.
สมทรง รักษ์เผ่าและสรงค์กฎณ์ ดวงคำสวัสดิ์.(2540) กระบวนการดำเนินงานสุขศึกษาเพื่อพัฒนา. พฤติกรรมสุขภาพกรณี: การพัฒนาพฤติกรรมผู้บริโภคในชุมชน.นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข. สันทนาการ.
อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์. (2553) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.มหาวิทยาลัยมหิดล:ม.ป.ท.
อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกาปั่น, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554) การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน:การประยุกต์แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานครฯ: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
อุมาพร ปุญญโสพรรณ. (2554)การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทองในตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี : วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
อณัญญา ยศนันท์.(2563) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสาร ปีที่ 4 ฉบับที่ 11กันยายน-ธันวาคม (198-205).
Daniel, W.W. Biostatics: Basic concept and Metthodology for the Health Sciences (9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.
Firew, A. &Belachew, U. (2022). COVID-19 vaccines: awareness, attitude and acceptance among undergraduate University students.Journal of Pharmaceutical Policy and Practice, 15(32),1-7. hhttp://www.hiso.or.th/hiso/visualize/Index.php?links=v320&show=2&no=8&menu=1
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity.TijdschriftVoorOnderwijs Research.2, 49-60
Suphanchaimat. R, et al. (2021).Predicted Impact of Vaccination and Active Case Finding Measures to Control Epidemic of Coronavirus Disease 2019 in a Migrant-Populated Area in Thailand. Risk ManagHealthc Policy, 3(14), 3197-3207.