รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

กำพล เข็มทอง, ส.ด.

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ และสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง จำนวน 325 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการรูปแบบโซน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 6 มิถุนายน 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ร้อยละ 59.4 รองลงมาเป็นผู้เข้าร่วมงาน ร้อยละ 27.2 ปัจจัยที่เข้าร่วมการประกวดผลงานวิชาการ ส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับงานและความรับผิดชอบงาน ร้อยละ 45.7 รองลงมาเพื่อประกอบการเลื่อนระดับ ร้อยละ 22.3 ด้านความพึงพอใจ ภาพรวมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมาก ร้อยละ 50.86 พึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการโซนความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ระดับมาก ร้อยละ 56.1 พึงพอใจเข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการ ระดับมาก ร้อยละ 52.2 พึงพอใจต่อการบริหารเวลาและสถานที่จัดจัดประกวดผลงานแบ่งโซน ร้อยละ 66.8


สรุปผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบใหม่ 6 ความเป็นเลิศโซนพื้นที่ คือ Six Smart Sisaket ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย/วิชาการของบุคคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.01 การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและทักษะบุคคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.02

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2564). แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2562 - 2565. https://www.md.go.th/md/images/download/ICT2562-2565.pdf

ชนิดา ฉัตรภูมิ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) ของโรงพยาบาลตำรวจ. http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1614239017_6214830013.pdf

ธนวรรณ เพชรทอง และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพการปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควดิ-19 กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร. http://www.vl-bstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-1_1607427822.pdf

ธีรพงษ์ ขันทอง. (2554). การปรับปรุงคุณภาพการผลิตโดยใช้เทคนิคการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรและลีน. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/825/1/124359.pdf

บุญเฉิด โสภณ. (2554). ความสําคัญของงานวิจัย. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รายงานสถาบันนานาชาติเพื่อการบริหารการพัฒนา (International Institute for Management Development; IMD).

บุญไทย จันทรเสนา และมานพ คณะโต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(3), 321 – 335.

บุญไทย จันทรเสนา และมานพ คณะโต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. .วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(3), 321 – 335.

รดามณี พัลลภชนกนาถ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2560). อิทธิพลของการจัดการคุณภาพและการจัดการโครงการที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรม. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/116604/89701

วาสนา เลิศมะเลา และเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2561). การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. file:///C:/Users/anan/Downloads/polscicmujournal,+Journal+manager,+7-emplate+Wasana%20(2).pdf

วาสนา สะอาด และคณะ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในของสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. .รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส). (2562). กรอบการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). https://research.pkru.ac.th/images/news/TIRAs/26/8.pdf

สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวนช.). (2560). แผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). https://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2019013108571396.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 20 ปี. http://www.stopcorruption.moph.go.th/index.php/main/p_detail/page/60

สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). มหกรรมการจัดการความรู้และบทเรียนโควิด-19 และโครงการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๖๖. https://mophconf.moph.go.th/

สุทธินี เชาวรัตน์. (2557). ผลกระทบของการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวมและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านคุณภาพในการดำเนินงานของสถานพยาบาลในประเทศไทย. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5602030362_951_327.pdf

สุรชัย เกตนิล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และกิตติ กันภัย. (2553). งานวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพ: กลไกในการพัฒนาสังคม. Suranaree J.Soc.Sci, Vol. 4 No. 1; June2010 (65-77), 65-77.

อนันต์ ถันทอง. (2565). ปัจจัยทำนายการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, ปีที่ 1(ฉบับที่ 1: กันยายน-ธันวาคม 2565).

อาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. http://mdc.library.mju.ac.th/research/2561/arbthip_kanchanawong2559/fulltext.pdf

Atz Teresa W และคณะ. (2014). Perceptions of academic health science research center personnel regarding informed consent processes and therapeutic misconception. 21(5), 300-314.

J Jeffery Reeves และคณะ. (2020). Rapid response to COVID-19: health informatics support for outbreak management in an academic health system. 27(6), 853-859.

United Nations. (2023). Department of Economic and Social Affairs https://sdgs.un.org/goals

Victor J Dzau และคณะ. (2010). The role of academic health science systems in the transformation of medicine. 375(9718), 949-953.

World Health Organization. (2010). Increasing access to health workers in remote and rural areas through improved retention: global policy recommendations. World Health Organization.