การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกพริกในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัย และถูกต้อง : บ้านปะโด๊ะ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วชิร งามล้วน, ส.ม.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ปลอดภัยและถูกต้อง ของประชากรที่มีความสนใจ ยินดีและเต็มใจเข้าร่วมในการศึกษา 56 คน ประกอบด้วยตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกพริก 36 คน ตัวแทนแกนนำชุมชน 17 คน และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง 3 คน โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม(A-I-C) เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่าความเที่ยงด้านความรู้ใช้วิธีการของ Kuder- Richardson ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 การปฏิบัติใช้วิธีการของ Cronbach's  method หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมาน Paired t-test มีระดับนัยสำคัญ0.05ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ก่อนการพัฒนาอยู่ระดับระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยคะแนน 11.0 หลังการพัฒนาเกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนน 15.03 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนและหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.005, 95%CI 3.115 ถึง 4.941) การปฏิบัติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรก่อนการพัฒนามีการปฏิบัติในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.33 หลังการพัฒนาเกษตรกรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.92 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนและหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.005, 95%CI  0.480 ถึง0.690) และผลการประชุมการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยและถูกต้อง ได้โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 6 โครงการ 1)โครงการอบรมให้ความรู้เกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยและถูกต้อง 2)โครงการจัดตั้งกลุ่มการทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ในชุมชน 3)โครงการอบรมให้ความรู้เกษตรกรในการปุ๋ยหมัก การทำสารไล่แมลงจากพืชสมุนไพร 4)โครงการจัดทำพื้นที่สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานและพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 5)โครงการศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริเกษตรพอเพียง และ6)โครงการจัดซื้อเครื่องอัดปุ๋ยเม็ดและเครื่องตีป่น


            จากผลการวิจัย เกษตรกรมีความรู้ และการปฏิบัติที่ปลอดภัย ถูกต้องเพิ่มขึ้นผลการดำเนินการมีส่วนร่วมของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณฐมน ภูพวก (2560) ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการลดละเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี; วารสารอาหารและยา,ฉบับเดือน กันยายน-ธันวาคม 2560,49-58

ธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์ (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งประชาคมประชาสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น:ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

นัสพงษ์ กลิ่นจำปา และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม (2561) เรื่องพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ;วารสารสคร.9,25 (2)26-34.

บุญเลี้ยง สุพิมพ์และคณะ(2565) เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร: การพัฒนาการนำไปปฏิบัติ และการประเมินผล;วารสารเทคโนโลยีภาคใต้,15(1)149-159.

ปรารถนา ทัดเทียมพงษ์ อุมาพร ฉัตรวิโรจน์ และ วสุนธรา รตโนภาส(2565) เรื่องความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว: กรณีศึกษาตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ;วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี ,4(2)1721-1730.

มนัส ชยาพัฒน์,ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์,2563)เรื่องปัญหาการควบคุมสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ของประเทศไทย,วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ,9(1) 76-85

มุกธิดา ขำมี และจิราพร ทิพย์พิลา(2563)เรื่องผลการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริกบ้านนาเยีย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี; วารสารการแพทย์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,3(1)13-24

วันปิติ ธรรมศรี สิริพร พรมอุทัย วนิดา บุษยาตรัส และทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลงของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ;วารสารวิทย์ เทคโนหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ,7(2)71-81

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ.(2545).วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สุภาพร ภูมิเวียงศรี และคณะ(2564) เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น;วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ,14(2)36-45.

อรุณรัตน์ ปัญจะกลิ่นเกสรและเพชรัตน์ ศิริสุวรรณ(2561) เรื่องการพัฒนาศักยภาพการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัยของเกษตรกรตำบลดอนโอง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด; วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา,119-131.

อนันต์ บุญประกอบ,พิสมัย หอมจำปา และ นภดล พิมพ์จันทร์(2561) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายและควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์; วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,7(1)123-132

อรทัย ก๊กผล (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น.กรุงเทพฯ. ส เจริญการพิมพ์