องค์กรสาธารณสุขชั้นนำจังหวัดศรีสะเกษพัฒนาสู่รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารจัดการภาครัฐเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนระบบงานภาครัฐของหน่วยงานเพื่อให้กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐมีประสิทธิภาพและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานที่จะสร้างความเข้มแข็ง เติมเต็มและสร้างองค์กร บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพและสร้างคุณค่า สร้างความสำเร็จให้องค์กรของหน่วยงาน ที่ปฏิบัติงานประจำและองค์กรภาพรวมของจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้บริหารในระดับจังหวัด ระดับอำเภอและหน่วยงาน นำศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร การพัฒนาและการกระตุ้นให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ได้กระตือรือร้นและมีจิตอาสาในการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถของตนเองและขยายผลเครือข่าย เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดความรู้ใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน เสริมสร้างให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรในทุกระดับ
ดังนั้น ผู้ศึกษาได้ศึกษาวิเคราะห์และทบทวนที่ผ่านมาเกี่ยวกับการเสริมสร้างและการพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการภาครัฐ จึงได้กำหนดนโยบายในการทำงาน คือ Sisaket Good Model ประกอบด้วย 1. Governance policy :G 2. Operation effectiveness :O 3. Obvious communication :O และ 4. Development :D โดย Governance policy :G คือ ปฏิบัติตามนโยบาย Operation effectiveness :O คือ ปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ Obvious communication :O คือ การสื่อสารชัดเจน เด่นชัด ครอบคลุม และ Development :D คือ พัฒนาคน, งาน, ระบบ, เงิน และอื่นๆ นอกจากนี้ การกำกับติดตามผ่านระบบการนิเทศงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน การประชุมคณะกรรมการบริหาร(กกบ.) แล้วถ่ายทอดต่อให้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของกลุ่มงาน/ศูนย์ได้รับทราบและรูปแบบไม่เป็นทางการ ขอคำปรึกษาหารือโดยตรง การลงนามข้อตกลง (MOU) ในการขับเคลื่อนตัวชี้วัดการปฎิบัติราชการประจำปีและตัวชี้วัดสำคัญ เทียบเคียงกับมาตรฐานระดับประเทศ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ การควบคุมภายใน การกำกับดูแลองค์การที่ดีและมาตรฐานจริยธรรมของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดตัวชี้วัดประเมินผลการปฏิบัติราชการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ จำนวน 86 ตัวชี้วัด ใช้ประเมินและจัดลำดับ(Ranking) หน่วยงานที่โปร่งใส เป็นธรรม ให้เกิดแรงจูงใจ มุ่งมั่น สู่เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน การจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมและร่วมกิจกรรม การพัฒนาบุคลากรภาครัฐผ่านการสร้างทัศคติในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การทำงานให้มีความยืดหยุ่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภาครัฐอย่างยั่งยืน โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษได้รับการรับรองผลการประเมิน(Certificate) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) หมวด 1 การนำองค์กรจากกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2566
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่:
การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพสูงสุด. วารสาร
วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์). 7 (3). 125–139.
ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และวิรัญญา สุทธิกุล. (2561). ค่านิยม
0: กลไกขับเคลื่อนการบริหารองค์การภาครัฐ
แนวใหม่กับการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารบัณฑิต
วิทยาลัย พิชญทรรศน์. 13 (2). 41 – 53.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2551). “ทิศทางและแนวโน้มของรัฐ
ประศาสนศาสตร์” ใน ประมวลสาระชุดวิชาแนวคิด
ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 15.
น น ท บุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. การบริหารงาน
ภาครัฐ.สืบค้น 25 มีนาคม 2563, จาก
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. เอกสารบรรยายแนว
ทางการจัดทำรายงานผลการดำเนินการพัฒนา
องค์การสู่ระบบราชการ ๔.๐ (Application Report).
เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมริชมอนด์
จ.นนทบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน
ก.พ.ร.). คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงาน
ในการเป็นระบบราชการ ๔.๐. กรุงเทพมหานคร :
๒๕๖๒.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553).
คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สํานักงาน ก.พ.(2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากร
ภาครัฐพ.ศ. ๒๕๖๓ –๒๕๖๕.นนทบุรี: โรงพิมพ์
สํานักงานเลขาธิการ สํานักงาน ก.พ.
สํานักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. (2563). แนวทางการพัฒนา
บุคลากรภาครัฐจังหวัดเพชรบูรณ์พ.ศ. 2563 –2565.
กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สํานักงานจังหวัด
เพชรบูรณ์.
อำพร มณีเนียม, Sadanon Wattatham, ประลอง
นนท์ณรงค์, รังสรรค์ วัฒนาชัยวณิช. (2021).
The Development of public administration
capacity. JOURNAL MAHA CHULA TANI
MAHACHULALONGKORNRAJAVIDYALAYA
UNIVERSITY, 3(6), 23–28. Retrieved from
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/
mcupnpbcr/article/view/250037