ผลของการให้ยาวิตามินรวมและนมกล่องต่อน้ำหนักตัวและส่วนสูงของเด็กชั้น ป.1-ป.6 ที่มีภาวะโภชนาการต่ำ โรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ธนสันตชัย พรหมบุตร, พ.บ.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental Research) แบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The Pretest-Posttest  Group) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้ยาวิตามินรวมและนมกล่อง  ยูเอชทีต่อน้ำหนักตัวและส่วนสูงของเด็กชั้น ป.1-ป.6 ที่มีภาวะโภชนาการต่ำ โรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เด็กนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ที่มีภาวะโภชนาการต่ำ จำนวน  57 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนมกราคม 2566 ถึงเดือน มิถุนายน 2566 การเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี จำนวน 57 คน ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย ร้อยละ 50.12 มีอายุอยู่ในช่วง 6-7 ปี ร้อยละ 43.86 ผู้บันทึกการรับประทานวิตามินรวมและดื่มนมกล่องยูเอชที เป็นมารดา ร้อยละ 66.67 สรุป หลังการรับประทานวิตามินรวมและดื่มนมกล่องยูเอชที กลุ่มตัวอย่างมีผลต่างค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว และส่วนสูงเพิ่มมากขึ้นกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในนมกล่องยูเอชทีหรือนมวัวนมวัว ประกอบด้วยน้ำ โปรตีนเคซีน (Casein) และเวย์ (Whey) ที่เป็น Branched-chain amino acid-BCAA ได้แก่ กรดอะมิโนวาลีน (Valine) กรดอะมิโนลิวซีน (Leucine) กรดอะมิโนไอโซลิวซีน(Isoleucine) น้ำตาลโมเลกุลคู่-แลคโตส (Lactose) วิตามินและเกลือแร่ ไขมันหลากหลายชนิดทั้งกรดไขมันชนิดอิ่มตัวและกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว อาทิ ไตรกลีเซอร์ไรด์ กรดไขมันโอเมกา 3 โอเมกา6 โอเมกา 9 รวมถึงกรดไขมันเชิงซ้อนช่วยเสริมสร้างเซลล์สมองในการสร้างไมอีลีนชีท (Myelin sheath) อย่าง Milk fat globule membrane-MFGM ที่เป็นเซลล์ส่วนห่อหุ้มไขมันในนม นอกจากนี้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย อาทิ แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ซิลีเนียม วิตามินอี วิตามินเอ โฟเลต ไรโบฟลาวิน (riboflavin) และวิตามินบี 12 ในปริมาณสูง สารต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีนมีผลช่วยพัฒนาการตอบสนองภูมิคุ้มกันในระยะแรกให้ผลต่อการป้องกันส่วน non-immunological เช่น แลคโตเฟอริน (lactoferrin) ทำให้นมเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย และในวิตามินรวมวิตามินรวม ประกอบด้วยวิตามินเอ (vitamin A) วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินดี วิตามินซี  นิโคตินาไมด์ (nicotinamide) หรือวิตามินบี 3 ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินที่จำเป็นและเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับร่างกาย ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรนันท์ วีรกุล. (2559). การเจริญเติบโตและพัฒนาการปกติของเด็กวัยต่างๆ. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.med.nu.ac.th/hris/attachments/article/898/16% 20Story%2022.pdf สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2564.

จักรินทร์ ปริมานนท์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์, สมเกียรติยศ วรเดช. (2561). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี: กาiทบทวนวรรณกรรม.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 5(1), 329-342.

ชลธิดา เณรบำรุง.(2561). การศึกษาคุณสมบัติของนมวัวและความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มนมที่มีผลต่อสุขภาพกาย จากฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีมาตรฐานรับรองระหว่างปี 2000 ถึงมกราคม 2019. หลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขา วิชาวิทยาการชะลอ วัยและฟื้นฟูสุขภาพ. วิทยาลัยการแพทย์ บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิตยา ไทยาภิรมย์. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กทุกช่วงวัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2553). การพยาบาลเด็ก เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระ บรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข.

พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กทุกช่วงวัย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

มยุรี นภาพรรณสกุล. (2547). การพยาบาลเด็ก ที่มีความผิดปกติทางด้านโภชนาการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ความหมายของเด็กวัยเรียน. [ออนไลน์] ได้จาก www.royin.go.th/dictionary/.สืบค้น เมื่อ 15 มิถุนายน 2564.

โรงพยาบาลเมืองจันทร์. (2565). สรุปรายงานประจำปี 2565. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2557). พัฒนาการเด็กและโภชนาการในเด็กที่คาดหวัง: ข้อเสนอแนะบทบาทศูนย์อนามัย เพื่อการพัฒนาการเด็กไทย. [ออนไลน์] ได้จาก http://doh.hpc.go.th/ata/mch/LaddaChildDev25082014.pdf. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564.

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. (2555).ตำราการพยาบาลเด็กเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ .(2565). สรุปรายงานประจำปี 2565.ม.ป.ท.:ม.ป.พ.กุณา บุญนรากร. (2552). การสร้างเสริม สุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่2). สงขลา:เทมการพิมพ์.

สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือ แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการคลินิกสุขภาพเด็กดี.[ออนไลน์] ได้จาก ใน www.anamai.moph.go.th. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.

สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2559). องค์ความรู้ด้านอาหารและ โภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้. (2551). อาหารและโภชนาการ. คณะทำงานวิชาการและวิจัยสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข. [ออนไลน์] ได้จากhttp://www. Hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/food and nutrition.pdf. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564.