รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อรอุมา รัตนบุรมย์,พย.บ.
อารยา ฉัตรธนะพานิช, พย.บ.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ มีทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 51 คน คือ นายแพทย์โรงพยาบาลเชียงยืน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน/ตัวแทนเทศบาลตำบลเชียงยืน เภสัชกร นักกายภาพบําบัด โภชนากร พยาบาลวิชาชีพ ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะที่ 3 คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และตัวแทนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 19 หมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นหมู่บ้านละ 2 คน จำนวนกลุ่มละ 38 คน การวิจัยประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ประกอบด้วยการวางแผน (Planning: P) การปฏิบัติการ (Action: A) การสังเกตการณ์ (Observation: O) และการสะท้อนกลับ (Reflection: R) ดำเนินการวิจัยในเขตตำบลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาดำเนินการจำนวน 20 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม คือ 1) ความรู้ (Knowledge) 2) ทัศนคติ (Attitude) 3) การให้คุณค่าแก่ตัวเอง (Value) 4) การตระหนักรู้ (Self-awareness) และ 5) ความพึงพอใจ (Satisfaction) ผลการทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ผู้ดูแลหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วย การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการดูแลมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของแบบประเมินกิจวัตรประจําวัน และความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการวิจัยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข(2565). สรุปรายงานการป่วย ปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

เศรือวัลย์ เปี่ยมบริบูรณ์ และจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ.(2556). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพระยายมราช สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(1): 4-21.

เตือนตา สุขเกษ, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล และมุกดา หนุ่ยศรี. (2561). ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแล อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร. วารสารพยาบาล, 67(3): 19-27.

นิพนธ์ พวงวรินทร์(2554). โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

บุญน้อม ไกรยา, นิญาพัชญ์ ศิระรัตนาวัฒน์ และยุพาวดี แซ่เตีย. (2566). การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเครือข่าย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), 38(2): 52-63.

เบญจมาศ มาสิงบุญ. (2566). การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการ การแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอําเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา, 8(1): 411-422.

โรงพยาบาลเชียงยืน(2566). รายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลเชียงยืนปี 2563-2566. มหาสารคาม: โรงพยาบาลเชียงยืน.

สถาบันประสาทวิทยา(2558). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป.กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

American Heart association(2014). American Heart association/American Stroke Association of Target: stroke campaign manual. American Heart Association;

WHO.(1988). MONICA. Project investigators.The World Health Organization MONICA Project (Montioring Trends and Determinants in Cardiovascular Disease). J ClinEpidemiol, 41(1): 105-114.