การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ของ อสม.หมอประจำบ้าน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ของ อสม.หมอประจำบ้าน เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ของ อสม.หมอประจำบ้าน จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคฯ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบฯ ตามกระบวนการของ PDCA และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วย
วัณโรคเสมหะบวกพบเชื้อรายใหม่ของ อสม.หมอประจำบ้าน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ทัศนคติการป้องกันและดูแลกำกับการกินยา และการรับรู้ด้านสุขภาพ โดย อสม. ที่มีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีทัศนคติฯ และการรับรู้ด้านสุขภาพในระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคฯ มากกว่า (Mean diff =2.95, 95% CI= 0.38-5.52, Mean diff =5.72, 95% CI= 2.95-8.49 และ Mean diff =4.17, 95% CI= 1.40-6.93) รูปแบบการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ของ อสม.หมอประจำบ้าน จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้และทักษะ 2) ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์และระบบ 3) การเยี่ยมบ้านคุณภาพ 4) ระบบพี่เลี้ยงและการแนะนำจากพี่เลี้ยง และ 5) การติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และหลังใช้รูปแบบฯ พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติฯ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ของ อสม.หมอประจำบ้าน มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้น ผู้บริหารหน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรนำรูปแบบหรือกิจกรรมไปประยุกต์ในการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค เพื่อเพิ่มอัตราการรักษาวัณโรคสำเร็จและลดการแพร่กระจายเชื้อในพื้นที่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กชกร สมมัง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้รับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล
พระนารายณ์มหาราช. วารสารสาธารณสุขศึกษา, 37(126), 8-21.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2564). สรุปผลการดำเนินงานโรควัณโรคจังหวัดศรีสะเกษประจำปีงบประมาณ 2564. [เอกสารอัดสำเนา]. ศรีสะเกษ: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). สรุปผลการดำเนินงานโรควัณโรคจังหวัดศรีสะเกษประจำปีงบประมาณ 2565. [เอกสารอัดสำเนา]. ศรีสะเกษ: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.
กาญจนา ปัญญาธร, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่งคง และวรรธนี ครองยุติ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19
บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีม, 32(1):
-204.
ชูเดช เรือนคำ. (2562). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก, 6(1): 48-61.
ภัทรนุช วิทูรสกุล, ชญาภา ชัยสุวรรณ และสมสิริ รุ่งอมรรัตน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 39(4): 41-54.
ภูบิต ขันกสิกรรม. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุพาพร อินธิไชย เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และธีรยุทธ อุดมพร. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของแกนนำชุมชน ตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2): 79-86.
รจนารถ ชูใจ, ชลธิรา บุญศิริ และกมลพร แพทย์ชีพ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรค
โควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(1): 250-262.
รัตนะ วงศ์อิสรกุล. (2566). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดเพชรบุรี. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 13(1): 61-77.
วัฒนา สว่างศรี. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3): 116-129.
วันชัย เหล่าเสถียรกิจ. (2562). การพัฒนาและการประเมินผลรูปแบบการกำกับติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารกรมการแพทย์, 44(2): 128-35.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2560). แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). สถิติทางการแพทย์และสาธาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
อุไร โชควรกุล. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3): 116-129. 42-55.
Kelley, K., & Maxwell, S. E. (2003). Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological methods, 8(3): 305.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rded.). Victoria: Deakin University.
World Health Organization. (2013). Global tuberculosis report 2018. Switzerland: World Health Organization.
World Health Organization. (2014). Tuberculosis factsheet. [Internet]. update 2014 March 20; cite 2020 March 25]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs104 /en/index.html.
World Health Organization. (2021). Global tuberculosis report 2021. Switzerland: World Health Organization.