ผลของโปรแกรมกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนหลังมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษที่เข้าเกณฑ์ ใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน 2566 เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) โปรแกรมการกำกับตนเองที่ปรับปรุงขึ้นมีระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบบันทึกระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงและแบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และสถิติเชิงอนุมานทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และ HbA1C ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired t-test และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ independent t-test
ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนให้โปรแกรมและหลังให้โปรแกรม พบว่าหลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเพิ่มขึ้น 5.80 (95%CI 3.00 ถึง 8.60) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน โดยหลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 9.10 (95%CI 5.67 ถึง 12.53) มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ในขณะที่ค่า HbA1c พบว่าหลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่า HbA1c ลดลง 0.23 (95%C 0.12 ถึง 0.35) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบไม่พบความแตกต่างของค่า HbA1c ก่อนและหลัง หลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่า HbA1c น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.79 (95%CI0.71 ถึง 2.86) น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.002)
โดยสรุปโปรแกรมการกำกับตนเองในการรับประทานอาหารสามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและทำให้ระดับ HbA1c ลดลง อย่างไร ก็ตามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนควรเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและใช้เทคโนโลยีในการกำกับตนเองเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.
จิตติพร ศรีษะเกตุ , พรพิมล ชัยสา', อัศนี วันชัย, เขาวลักษณ์ มีบุญมาก และวิริยา โพธิ์ขวาง ยุสท์. (2560). แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11 (2), 168-182.
ฐิตารัตน์ โกเสส, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2565). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการจัดการอาหารและระดับน้าตาลในเลือด ในผู้ที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49 (2), 55-68.
ธีรศักดิ์ พาจันทร์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, บุญสัน อนารัตน์ และนิรันดร์ ถาละคร. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16 (1), 285-298.
รัตติกาล พรหมพาหกุล, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และกีรดา ไกรนุวัตร. (2563). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. NURS SCI J THAIL, 38 (2), 32-45.
สุนทรีย์ คำเพ็ง, อรธิรา บุญประดิษฐ์, อาจารีย์ พรมรัตน์ และโยธิน ปอยสูงเนิน. (2562). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกำลังกาย น้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เขตชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 112–123.
Bandura, A. (1991). Social cognitive theory of self-regulation. Organizational Behavior and Human Decision Process, 50, 248-287.
Levy, P and Lemeshow, S. (2013). Sampling of Populations: Methods and Applications. (4thed). John Wiley & Son, New York.
Ziaee A, Afaghi A, Sarreshtehdari M. (2012). Effect of low glycemic load diet on glycated hemoglobin (HbA1c) in poorly-controlled diabetes patients. Glob J Health Sci, 4(1), 211-6. doi: 10.5539/gjhs.v4n1p211