รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ยุพยงค์ พาหา, วท.ม.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์            แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ในอำเภอปรางค์กู่ จำนวน 410 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์หาปัจจัยทำนายด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple linear regression) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วม ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ แต่ละวงรอบมี 4 ขั้นตอน ได้แก่        การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ในกลุ่มเล็ก เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยใช้สถิติ paired sample t-test ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน กันยายน 2566


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยด้านร่างกาย ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุมีสภาพความเป็นอยู่ดี อบอุ่น มีความเหมาะสม ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ชุมชนผู้สูงอายุ มีส่วนร่วมการทำกิจกรรมพอสมควร ด้านสภาพแวดล้อม ลักษณะที่อยู่อาศัย ของผู้สูงอายุมีความเหมาะสม         2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ในระดับสูง จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ด้านจิตใจ   และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอปรางค์กู่ ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมกับครอบครัวและชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม  ปัจจัยด้านการให้คุณค่าในตนเอง  ปัจจัยด้านความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่และปัจจัยด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอปรางค์กู่  ได้ร้อยละ 63.80 (R2=0.646, R2adj=0.638 ) 4) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ          คือ  QDE :PRANGKU Model ประกอบด้วย (1) P= Promote Elderly Exercise ส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ                    (2) R=Responsibility ร่วมรับผิดชอบ (3) A=Area support  จุดรองรับผู้สูงอายุ (4) N=Nursing Home  ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ     (5) G=Good  Environment  สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี (6) K=Keep up Self -Esteem  รักษาความนับถือตนเอง และ (7) U=Unity of Personal 5) การประเมินผลรูปแบบพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของ พบว่าการมีส่วนร่วมกับครอบครัวและชุมชน  การสนับสนุนทางสังคม การให้คุณค่าในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอปรางค์กู่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2562). รายงานการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทย:รายงานประจำปี 2562. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย.

กรมอนามัย. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทย:รายงานประจำปี 2564. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่. (2565). สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2565. สำนักงานสาธาณสุขอำเภอปรางค์กู่.

บุญชม ศรีสะอาด.(2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสารส์น. พิมพ์ครั้งที่ 8.บุญธรรม จิตต์อนันต์. (2540). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.

ลลิตา ราชมี.(2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : (https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/cms-of-15/download/?did=213400&id=91524&reload=).

วรรณรัตน์ อึ้งสุประเสริฐ.(2543). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ.(2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ และไพรัช โกศัลย์พิพัฒน์. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบทภาคเหนือ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่น. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : (http://cmruir.cmru.ac.th/ handle/123456789/1423)

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม 1/2558. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 1.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564.กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/ statnew/statMONTH/statmonth/#/view (1 กุมภาพันธ์ 2566)

สุมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 10.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540) เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่ : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิทยพัฒน์.

องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Denis, G.(1973). The cruel choice: A new concept in the theory of development New York:Atheneum.