การพัฒนาและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สำรอง สมหมาย, ส.บ.

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผล รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและพัฒนาและใช้โปรแกรม            การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ ระยะที่ 2 ประเมินผลรูปแบบก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม สุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 66 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน 3) แบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ และ 4) พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน      เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม- เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  และ  Paired t-test  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


              ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 66 ราย ส่วนใหญ่เป็นชายร้อยละ 56.70 มีอายุเฉลี่ย 55 ปี                   (M= 55.1 , SD = 9.3 ) สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 76.7 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา ร้อยละ 41.7 อาชีพแม่บ้าน   ร้อยละ 30.00 และดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน ร้อยละ 33.3  ภายหลังการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .001, 95% CI ; 1.02, 1.16) ค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, 95% CI ; 7.28, 9.58) และค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    (p < .001, 95% CI ; 0.55, 0.74) ตามลำดับ


            การศึกษาสรุปว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น สามารถนำมาใช้ในการดูแลรักษากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานทั้งนี้ ควรมีการส่งเสริม สนับสนุน การดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการป้องกันและลดอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

(2560). คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว

(อสค.) กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

(NCDs). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขนิษฐา พิศฉลาด และภาวดี วิมลพันธุ์(2560). ผลของ

โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการ

จัดการตนเองดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลใน

เลือดหลังอดอาหารของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะ

ก่อนเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาล

กระทรวงสาธารณสุข 27(1): มกราคม-เมษายน

: 47-59.

ดารณี ทองสัมฤทธิ์, กนกวรรณ บริสุทธิ์ และ

เยาวลักษณ์ มีบุญมาก(2560). ผลของการใช้

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ

ความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง

โรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง

จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาล

พระปกเกล้า จันทบุรี. 28(1): มกราคม –

มิถุนายน.

ถนัต จ่ากลาง(2560). ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจังหวัด

ขอนแก่น.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(1):

มกราคม–มิถุนายน 2560: 151-162.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2554). การพัฒนาทรัพยากร

มนุษย์ในยุคสังคมเสี่ยงภัย มุมมองทาง

ประชากรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน

นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม

แห่งชาติ.

ยุคลธร เธียรวรรณ, มยุรี นิรัตธราดร และ ชดช้อย

วัฒนะ(2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแล

ตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับ

น้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสียงโรคบาหวาน.

พยาบาลสาร. 39(2): เมษายน-มิถุนายน 2555:

-143.

สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. (2559). รายงาน

ประจำปี 2558 สำนักโรคไม่ติดต่อ

กรมควบคุมโรค. กรุงเทพมหานคร. Retrieved

from http://www.thaincd.com/

document/file/download/paper-

manual/Annual-report-2015.pdf.

สุรากรี หนูแบน, อารยา ปรานประวิตร และสาโรจน์

เพชรมณี(2559). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่ม

และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม

การดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานของ

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุ

ราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย.7 (1): มกราคม

- มิถุนายน 2559; 101-114.

อรุณีย์ ศรีนวล .(2548). การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผน

ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทาง

สังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแล

ตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานของประชาชน

กลุ่มเสี่ยงในอำเภอ เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์.

วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา

บัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริม

สุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัมพร ไวยโภคา(2556). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

กลุ่มเสียงโรคเบาหวานโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง

อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยราชภัฏ

เชียงใหม่14(1); ตุลาคม 2555 - มีนาคม 2556.

Bandara, A. (1986). Social Foundations of

Thought and Action. New Jersey: Prentice-

Hall, 12.Gould, J. (2012). Learning theory

and classroom practice in the lifelong

learning sector.(2nd ed). Exeter:Learning

Matters. International Diabetes Federation.

(20 15). Diabetes Atlas. Retrieved from

www.diabetesatlas.ors.

Kearney, P. M., Whelton, M., Reynolds, K.,

Muntner, P., Whelton, P. K., &He, J. (2005).

Global burden of hypertension: analysis

of worldwide data. Lancet, 365, 217-223.

Lorig KR, Holman HR(2003). Self-management

education: history, definition, outcomes,

and mechanisms. Ann Behav Med 2003;

(1):1–7.

Orem, D. E. (1991). Nursing Concept of Practice

(4thed.). St Louis: Mosky Year Book.

Rosenstock, I.M. (1974). “The health belief

model and preventive health behavior.”

Health Education Monographs. 12(2):

-386.

Tongpeth J(2013). Self-management promoting

potential program on blood sugar

control and Quality of life among

diabetes mellitus type 2. Journal of The

Royal Thai Army Nurses 2013; 14(2):69-

Wilcox, S. (1996). Fostering self - directed

learning in the university setting. Studies

in Higher Education. 21(2):165-176.

Williams, M.V., Baker, D.W., Parker, R.M.,&Nurss,

J. R. (1998). Relationship of

functionalHealth literacy to patients'

knowledge of their chronic disease. A

study of patients With hypertension and

diabetes. Arch Inter Med, 158, 166-172.

Tongpeth J(2013). Self-management promoting

potential program on blood sugar

control and Quality of life among

diabetes mellitus type 2. Journal of The

Royal Thai Army Nurses 2013; 14(2):69-