ศึกษาประสิทธิผลระบบบริการรับยาโรคเรื้อรังที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 (ข.ย.1) เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ตามโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น

Main Article Content

ฉัตรนภา ธรรมวราภิรมย์, ภ.ม.
ธนัท สังขรักษ์, ภ.บ.
วันทิวา อินเจริญ, ภ.บ.

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบบริการการรับยาโรคเรื้อรังที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 (ข.ย.1) เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ตามโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น ศึกษาด้วยการสำรวจผลผลิตทั้งโครงการฯ ระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง 930 คน ศึกษาผลลัพธ์ด้านความเป็นมนุษย์โดยสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxon singed rang test กำหนดการมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มโรคหลักของผู้ป่วย 2 อันดับแรกได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 44.41 และโรคเบาหวาน ร้อยละ 43.01 เปรียบเทียบจำนวนการใช้บริการและอัตราของผู้รับบริการรับยาที่โรงพยาบาลพบว่า ลดลงตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ในปีงบประมาณ 2563 ลดลงร้อยละ 7.87 และปีงบประมาณ 2564 ลดลงร้อยละ 9.57 แต่ปีงบประมาณ 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27  อัตราผู้รับบริการร้านยาในปีงบประมาณ 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.02 และในปีงบประมาณ 2565 ลดลงร้อยละ 0.24 เภสัชกรร้านยาสามารถค้นหา และจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้รับบริการโครงการฯ ได้จำนวน 12 ครั้ง ผลลัพธ์โครงการด้านความเป็นมนุษย์ จากประชากรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานและตอบแบบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 146 คน  มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89 ± 0.335) รองลงมาคือด้านลักษณะของผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.82 ± 0.427), ความสะดวกสบายที่ได้รับ (ค่าเฉลี่ย 4.73 ± 0.495), การได้รับข้อมูลของยา (ค่าเฉลี่ย 4.56 ±0.590) และคุณภาพการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.45 ±0.712) ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก (Clinical outcome) พบว่าหลังเข้าร่วมโครงการฯ ต่อเนื่อง 3 ครั้งขึ้นไป ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและค่าน้ำตาลสะสมได้ไม่แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมงานโครงการฯ (FBS ก่อน 156.3+54.03, FBS หลัง 157.7+60.07; p=0.441) (HbA1C ก่อน 8.14+1.88, HbA1C หลัง 7.95+1.84; p=0.283) และมีค่าไตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Scr ก่อน 2.25+11.77, Scr หลัง 1.22+3.56; p<0.001) หลังเข้าร่วมงานวิจัยผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางสุขภาพเท่าเดิม จำนวนร้อยละ 72.6 


            ผลสรุปพบว่า ประสิทธิผลระบบบริการการรับยาโรคเรื้อรังที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 (ข.ย.1) เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ตามโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น เป็นโครงการที่ให้บริการผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง และลดจำนวนผู้รับบริการโรงพยาบาลได้ในระดับหนึ่ง เภสัชกรมีบทบาทในการค้นหาและจัดการปัญหาเรื่องยาได้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีผลลัพธ์ทางห้องปฏิบัติการและผลลัพธ์ทางสุขภาพไม่แตกต่างจากการรับบริการรับยาที่โรงพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรแก้ว จันทภาษา และคณะ (2564). การประเมินผลเชิงพัฒนาโครงการนำร่องผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัด ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์.

กระทรวงสาธารณสุข (2562). คู่มือการดำเนินงานโครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการประทรวงสาธารณสุข สำหรับ สปสช.เขต.

กิตติยา ปิยะศิลป์ และคณะ (2565). ผลลัพธ์ของโครงการรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ โมเดล 14(1), 229–241.

จุฬารัตน์ ฮาดวิเศษ และคณะ (2565). การประเมิลผลการดำเนิน “โครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม". วารสารเภสัชกรรมไทย, 14(3), 604–617.

ปะการัง ศรีวะสุทธิ์ และคณะ (2566). การประเมินผล “โครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น” ในจังหวัดร้อยเอ็ดด้วยแบบจำลองซิปป์. วารสารเภสัชกรรมไทย, 15(1), 10–123.

พยอม สุขเอนกนันท์ และคณะ (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพ และศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(1), 100–111.

รพีพรรณ ฉลองสุข, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, และวิชัย สันติมาลีวรกุล. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการบริการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่โรงพยาบาลกับร้านยาคุณภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 1(3–4), 249–261.

รุ่งนภา คำผาง และคณะ. (2564). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การประเมินโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2.

รุ่งนภา ศิริพรไพบูลย์. (2565). ประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับยาร้านยาชุมชนอบอุ่นในระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง อำเภอเมือง จังหวัดตาก. ศรีนครินทร์เวชสาร, 37(3), 268–274.

โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. (2566). รายงานตามตัวชี้วัด. https://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/t_ncd/ ncd107.php? prepage=../t_ncd/menu.php/.

วิลาวัณย์ ทุนดี และคณะ. (2560). การบริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องสาหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในร้านยามหาวิทยาลัย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 9(1), 192–203.

ศิริรัตน์ ตันปิชาติ. (2562). ทิศทางของร้านยาเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ. https://papc.pharmacy council.org/share/file/file_4108.ทิศทางอบรมร้านยา

(งานบริบาลเภสัชกรรมชุมชน)2562สภา.pdf.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, บ.ก.; 1 พิมพ์ครั้งที่). บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด. https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-

wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2566). รายงานตามตัวชี้วัดNCD ClinicPlus ปี 2565(HDC). https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/.

สุณี เลิศสินอุดม, นิรัชรา ถวิลการ, ณัฎฐ์ธิดา หาญสุริย์, และอัจฉรา นาสถิตย์. (2561). ผลลัพธ์ของโครงการเครือข่ายเภสัชกรประจำครอบครัวร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(2), 282–291.

อรอนงค์ เหล่าตระกูล. (2564). ความสำเร็จของโครงการรับยาใกล้บ้านตามมาตรการบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 0(2), 283–294.

Correr C. J. et al (2011). Effects of a pharmacotherapy follow-up in community pharmacies on type 2 diabetes patients in Brazil. International Journal of Clinical Pharmacy, 33(2), 273–280. https://doi.org/10.1007/s11096-011- 9493-2.

da Silva W. L. F., et al(2022). Profile of pharmaceutical interventions of a pharmacotherapeutic follow-up model for diabetic patients in a community pharmacy. Brazilian Journal of Pharmaceutical Sciences, 58. https://doi.org/10.1590/s2175-97902022e20956.

Hepler, C. D., & Stand, L. M. (1990). Opportunities and Responsibilities in pharmaceutical care. American Journal of Hospital Pharmacy, 47, 533–543. https://doi.org/10.1093/ajhp/47.3.533.

Ikolaba, F. S. A., Schafheutle, E. I., & Steinke, D. (2023). Development, Feasibility, Impact and Acceptability of a Community Pharmacy-Based Diabetes Care Plan in a Low–Middle-Income Country. Pharmacy, 11(4), 109. https://doi.org/10.3390/ pharmacy11040109.

Malik M., et al (2022). Effectiveness of Community Pharmacy Diabetes and Hypertension Care Program: An Unexplored Opportunity for Community Pharmacists in Pakistan. Frontiers in Pharmacology, 13. https://doi.org/10.3389/fphar.2022.71061.