การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง, ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน รวมถึงเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเปรียบเทียบผลของรูปแบบทั้งก่อนและหลังการศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยแบบ Cross-sectional study เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และประยุกต์ใช้ Google Form ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ ประชาชนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร่วมกับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Fisher's exact test) และ สถิติถดถอยแบบพนุแบบขั้นอันดับ (Ordinal logistic regression)ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน คือ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกระดับดี (AOR : 2.22 , 95%CI : 1.03 – 4.79) ปัจจัยเสริมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งการสนับสนุนทางสังคม และการได้รับแรงจูงใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับดี (AOR : 0.02 , 95%CI : 0.01 – 0.81) การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า เกิดกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ดังนี้ การส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ด้านสุขภาพโดยเฉพาะการจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้แก่ประชาชน กิจกรรมสื่อสารประชาสัมพันธ์สถานการณ์ของโรค การป้องกันและควบคุมโรค โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สร้างศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในชุมชน กิจกรรมสร้างระบบสื่อสารระหว่างชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุข นอกจากนี้ชุมชนสามารถประเมินผลการดำเนินงาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนเองได้ทันที นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดประเด็นโรคไข้เลือดออกเป็นประเด็นหลักของตำบลรวมถึงสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ เน้นที่การสร้างการมีส่วนร่วมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ซึ่งภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกสูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าก่อนการดำเนินงาน รวมถึงค่าดัชนีลูกน้ำ มีแนวโน้มลดลง เช่นกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. นนทบุรี.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี พ.ศ. 2566. จาก https://ddc.moph.go.th/dvb/.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2565). รายงานประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี พ.ศ. 2566.นนทบุรี.
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์. (2553). ผลกระทบของโรคไข้เลือดออกจากบทความที่น่าอ่าน. จาก https://info.muslimthaipost.com/
main/index.
ณัฐยา สุนัติ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ยุวดี รอดจากภัย, & วัลลภ ใจดี. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(2), 53-67. จาก https://he02.tcithaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/251446
ธนันญา เส้งคุ่ย. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ
จังหวัดสงขลา. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา.มหาวิทยาลัยทักษิณ.
รัชฎากรณ์ มีคุณ, กรรณิกา สาลอาจ, & ชลการ ทรงศรี. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของประชาชนบ้านหนองอีเบ้า ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา,
(2), 26-34. จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/213437.
วันทนา ขยันการนาวี. (2563). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศรีสุรัตน์ ชัยรัตนศักดา. (2555). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่นอกเขต เทศบาลนคร จังหวัดนครสวรรค์. (ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). วาระการประชุมคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับจังหวัด ครั้งที่ 12 ปี 2565. ศรีสะเกษ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จังหวัด ศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2566. จาก https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a. from สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่. (2565). รายงานการประชุมประจำเดือนธันวาคม 2565.
Alidha Nur Rakhmani, Yanin Limpanont, Jaranit Kaewkungwal, & Kamolnetr Okanurak. (2018). Factors associated with dengue prevention behaviour in Lowokwaru, Malang, Indonesia: a cross-sectional study. BMC Public Health, 18(1), 619. doi:10.1186/s12889-018-5553-z.
Center for Disease Control and Prevention. (2023). About Dengue: What You Need to Know. Retrieved from https://www.cdc.gov/dengue/about/index.html.
D. Barmak, C. Dorso, M. Otero, & H. Solari. (2011). Dengue epidemics and human mobility. Phys. Rev. E, 84(1), 1-11.
Emmanuelle Kumaran, Dyna Doum, Vanney Keo, Ly Sokha, BunLeng Sam, Vibol Chan, John Hustedt. (2018). Dengue knowledge, attitudes and practices and their impact on community-based vector control in rural Cambodia. PLOS Neglected Tropical Diseases, 12(2), e0006268. doi:10.1371/journal.pntd.0006268.
Seyed Hassan Nikookar, Mahmood Moosazadeh, Mahmoud Fazeli-Dinan, Morteza Zaim, Mohammad Mehdi Sedaghat, & Ahmadali Enayati. (2023). Knowledge, attitude, and practice of healthcare workers regarding dengue fever in Mazandaran Province, northern Iran. Frontiers in Public Health, 11. Retrieved from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpubh.2023.1129056.
World Health Organization. (2022). Dengue in the South-East Asia. Retrieved from https://www.who.int/southeastasia/health-topics/dengue-and-severe-dengue.
W. Wayne, & D. (1995). Biostatistics : A Foundation of Analysis in the Health Sciences: John Wiley&Sons, Inc.