การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน : กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

อรนุช แก่นทอง, พย.ม.

บทคัดย่อ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย จากการตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน  ของหลอดเลือดโคโรนารีที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ที่เป็นสาเหตุ       การเสียชีวิตอันดับต้นของประชากร ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน      การรักษาในบทบาทของโรงพยาบาลชุมชน ณ แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน การให้การพยาบาล 3 ระยะ 1) การพยาบาลในระยะฉุกเฉิน (Emergency care) แรกรับที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช 2) การพยาบาลระยะแรก (Early care) ขณะอยู่ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช 3) การพยาบาลระยะส่งต่อ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การรักษา และการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในระยะ เฉียบพลัน และศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในกรณีศึกษา 2 ราย วิธีการศึกษาเป็นรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง  จำนวน 2 ราย ระหว่าง          1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566


ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 เพศชายอายุ 81 ปี มีอาการเจ็บหน้าอกทะลุหลังก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง ได้รับการคัดกรองเข้าห้องฉุกเฉินและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที แพทย์วินิจฉัยโรค Antero-lateral wall STEMI ให้การรักษาโดยให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือดผู้ป่วยเกิดภาวะ Cardiogenic shock หลังให้ยาละลายลิ่มเลือดหมด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำ พบว่ามี Reperfusion ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล  แม่ข่าย รวมระยะเวลาที่อยู่ในความดูแล 2 ชั่วโมง 57 นาที ระหว่างส่งต่อผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน ถึงโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างปลอดภัย กรณีศึกษารายที่ 2 เพศหญิงอายุ 73 ปี มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง คัดกรองเข้าห้องฉุกเฉินและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที แพทย์วินิจฉัย Infero-lateral wall STEMI ได้รับการรักษาโดยให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ระหว่างได้ยาละลายลิ่มเลือด Cardiogenic shock หลังยาละลาย      ลิ่มเลือดหมด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำ พบว่าไม่มี Reperfusion  ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล    แม่ข่าย รวมระยะเวลาที่อยู่ในความดูแล 1 ชั่งโมง 38 นาที ระหว่างส่งต่อผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน ถึงโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างปลอดภัย


สรุปผลการศึกษา บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในระยะวิกฤต          มีความสำคัญยิ่ง ในการประเมินและคัดกรองผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตั้งแต่แรกรับในโรงพยาบาลจะส่งผลผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยถูกต้อง และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว พยาบาลต้องมีความรู้ในการบริหารยา การเฝ้าระวังภาวะผิดปกติ   ที่อาจเกิดขึ้น กับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา นับตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจนกระทั่งส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ส่งผลทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2566; 10(2) : 90-96.เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1081120191227084415.pdf.

ณรงค์กร ชัยวงศ์. (พ.ศ.2550). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2. เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.

นพดล ชำนาญผล. (2563). ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI. สงขลา : คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปราณี ทู้ไพเราะ, วันดี โตสุขศรี, จงกลวรรณ มุสิกทอง, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, และศรินรัตน์ ศรีประสงค์. (2555). การพยาบาลอายุรศาสตร์1. โครงการตําราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา

พรทิพย์ สารีโส. (2565). หลักการพยาบาลผู้สูงอายุระบบหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงทอง ขำเจริญ. (2563). กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจ. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 29(1), 37-39.

โรงพยาบาลระโนด, งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน. (2565). สรุปผลงานประจำปี 2565 งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลระโนด.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย.

Joyce M. Black, Jane Hokanson Hawks. (2009). Medical-surgical nursing: clinical management for positive outcomes. Saunders/Elsevier Inc., St. Louis, Mo.