การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จารวี เลี้ยงสุขสันต์, ส.บ.
สมัย ลาประวัติ, ส.ด.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 – ธันวาคม 2566 รวมระยะเวลา 20 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทันตบุคลากร สหวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้แทนภาคีเครือข่ายภาคประชาชน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 36 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างในการประเมินรูปแบบได้แก่ประชาชน ในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย จำนวน 100 คน และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คือ “POCHAI” Model ประกอบด้วย1) Policy and Structure: การมีนโยบายและคณะกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจน 2) Organization analysis :     มีการวิเคราะห์องค์กร และสถานการณ์ตามสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ 3) Community  participation: การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 4) Holistic Care: การจัดบริการแบบองค์รวม ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 5) Action & Refection: การลงมือปฏิบัติตามแผนและสะท้อนผลการทำงาน 6) Integration & Cooperation: บูรณาการและการประสานงานความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่    จากผลการวิจัยที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานการส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข HDC-Report. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566] http://www.https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

เบญจวรรณ ผิวผ่อง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2563.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ชัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ.การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วม.2566.

วิรัติ ปานศิลา. (2551). การยกระดับการให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ระดับก้าวหน้า. นนทบุรี:

สถาบันพระปกเกล้า (สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ :UNDP)

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ.(2565). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566. นนทบุรี:

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2565.

สมชาย ยอดดี. (2554). ผลการประยุกต์เทคนิค ORID และการวางแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566—2570).ราชกิจจานุเบกษา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566] http://www.ssko.moph.go.th.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560.นนทบุรี :, บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ), จำกัด 2561.

สำนักทันตสาธารณสุข กรอมอนามัย. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตู...สู่สุขภาพที่ดีในช่วงชีวิต [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8กันยายน2566] https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819b a2f16c/ filecenter/ Additional/UI/oralcare.pdf

สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. ผลการประเมินเกณฑ์ประเมินมาตรฐานบริการทันตสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ. 2566.

Kemmis S. and McTaggart R. (1990). The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press.