ผลลัพธ์การตั้งครรภ์สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ที่มาคลอดในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์อายุ 20-35 ปี และมากกว่า 35 ปี ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 376 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 188 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนการคลอดของสตรีผู้มาคลอดบุตร และทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์โดยใช้สถิติ Chi-square และ Fisher’s Exact test
พบว่า สตรีตั้งครรภ์อายุระหว่าง 20-35 ปี และกลุ่มสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ที่ 2-5 ร้อยละ 72.9 และ 89.9 ฝากครรภ์คุณภาพ ร้อยละ 95.7 และ 95.7 มีภาวะโลหิตจางก่อนตั้งครรภ์ ร้อยละ 14.4 และ 20.2 เคยผ่าตัดคลอด
ร้อยละ 14.9 และ 16.5 อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ร้อยละ 98.9 และ 97.3 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ของสตรี พบว่า กลุ่มสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป มีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ และมีอัตราการคลอดโดยวิธีใช้หัตถการช่วยคลอดหรือผ่าตัดคลอดมากกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 35 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเตรียมวางแผนดูแลสตรีตั้งครรภ์อายุกว่า 35 ปี ตั้งแต่วางแผนการมีบุตร ก่อนตั้งครรภ์ การฝากครรภ์คุณภาพ และการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดเพื่อความปลดภัยของมารดาและทารกในครรภ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กมล พรมลังกา, กัญญณัท บุณยทรรพ, ปิยวรรณ คำศรีพล, วรางครัตน์ เลาหวัฒน์, กนกรส โค้วจิริยะพันธุ์ และวีระพล จันทร์ดียิ่ง. (2557). ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาอายุมาก และมารดาวัยผู้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลพะเยา. วารสารศูนย์การแพทยศาสตร์คลินิก โรพงพยาบาลพระปกเกล้า, 31(3); 148-155.
บัณฑูร ลวรัตนากร. (2555). การศึกษาอายุมารดากับผลการคลอดของมารดาที่มาคลอดที่โรงพยาบาลกัณทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารป้องกันควบคุมโรคที่ 7, 11;1-4.
ปณิตา ปรีชากรกนกกุล, ณัชชา วรรณนิยม และพนิดา รัตนเรือง. (2561). ผลของการตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์อายุมากที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(1); 1-9.
พิมลพรรณ อิศรภักดี และฐิตินันท์ ผิวนิล. คุณภาพการตั้งครรภ์ของหญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ ช่วงพ.ศ.2541- 2558 (Quality of Pregnancy Outcomes among Thai Women of Reproductive Age during 1998-2015). In Available from: http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/Conference
/Download/Book/05_Pimonpan-Quality%20of%20pregnancy.pdf.
วิจิตร เอกัคคตาจิต. (2559). ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มารับบริการในโรงพยาบาลนางรอง.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 13(3); 71-77.
วิจิตร เอกัคคตาจิต. (2559). ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มารับบริการในโรงพยาบาลนางรอง.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 13(3); 71-77.
Barbara Luke1 and Morton B. Brown. (1995). Elevated risks of pregnancy complications and adverse outcomes with increasing maternal age. Human Reproduction. 2007; Vol. 22, No. 5 pp. 1264–1272. doi: 10.1093/humrep/del 522
Fretts, R.C. (2017). Management of pregnancy in women of advanced age. In Wilkins-Haug, L (Eds.), 0. Available from: https://www.uptodate.com/contents/management-of-pregnancy-in-women-of-advanced-age
Gordon D, Milberg J, Daling J, Hickok D. (1991). Advanced maternal age as a risk factor for cesarean delivery. Obstet Gynecol. 1991 Apr;77(4):493.
Luke B, Brown MB. (2007). Elevated risks of pregnancy complications and adverse outcomes with increasing maternal age. Hum Reprod 2007; 22:1264.
Martin JA, Hamilton BE, Osterman MJK. (2016). Births in the United States, 2015. NCHS data brief, no 258. Hyattsville, MD: National Center for Health Statistics. 2016. Available from: https://www.cdc.gov/nchs/data/databriefs/db258.pdf.