การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ถิรวัฒน์ ลาประวัติ, ส.บ.
สมัย ลาประวัติ, ส.ด.

บทคัดย่อ

         


     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – มกราคม 2567  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 41 คน กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 170 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตก่อนและหลัง การเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยใช้สถิติ paired t-test


              ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ คือ“2PAO2R Model” ประกอบด้วย 1) P1; Policy & Structure: มีคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ระดับตำบล อย่างชัดเจน 2) P2 ; Planning: การจัดทำแผนปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วม 3) Action : การลงมือปฏิบัติตามแผนการพัฒนา    ที่เกิดขึ้นจากการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม 4) Observation : ร่วมกันสังเกตผล การนิเทศ ติดตาม สนับสนุน            การดำเนินงานพัฒนารูปแบบ 5) R1; Resource sharing การใช้ทรัพยากรในพื้นที่ คน เงิน ของ ร่วมกันในการดำเนินงาน   6) R2 ; Refection : การสะท้อนผลการทำงาน ถอดบทเรียนความสำเร็จและโอกาสพัฒนา ระดับคุณภาพชีวิตทั่วไป    อยู่ในระดับปานกลาง (Mean7630, S.D. =10.18) ระดับคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (Mean 83.60,S.D.-8.99) โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) มีผู้นำชุมชน      ที่เข้มแข็ง 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ 3) ชุมชนมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ 4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้การสนับสนุนให้กำลังใจ 5) มีทุนทางสังคม  และ 6) การติดต่อประสานงานของเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอาย. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553) การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธ การพิมพ์.

ฐานข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566) สืบค้นจาก http://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/.

ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2564). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อยในเขตเมืองลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต หาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นรินทร์ชัย พัฒนพงษา. (2538). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณี ตัวอย่าง. เชียงใหม่ : ศิริลักษณ์.

พิเชฐ ปัญญาสิทธิ์, รัษฎาวัลย์ โพธิขันธ์, วาสนา ธัญญโชติ และปิ่นนเรศ กาศอุดม. (2563). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. Journal of Health Science- วารสาร วิชาการ สาธารณสุข,29.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2565. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ศรายุทธ ชูสุทน. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. งานวิจัยปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานผลเบื้องต้นสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565 ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขศรีสะเกษ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). จำนวนผู้สูงอายุ 3 ปีย้อนหลัง. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขศรีสะเกษ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สิริมา อินประเสริฐ. (2560) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัด ระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์, สาขาการบริหารทั่วไป มหาลัยวิทยาบูรพา.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. Princess of Naradhiwas University Journal.

Department of Older Persons.(2021)สถิติผู้สูงอายุ[Statistics on older persons] Retrieved from https://www.dop.go.th/th/statistics.

Kemmis S. and McTaggart R. (1990). The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press.

Watson, J. L. (2006). Golden Arches East: McDonald's in East Asia, Second Edition. California: Stanford University Press.

World Health Organization. (2014). International Day of Older Persons. [Online]. Available from:http://www.un.org/ en/events/olderpersonsday/.[accessed 2 July 2020].

World Health Organization.(2017). World report on ageing and health.World Health Organization.United Nations.(2021). World population propects 2019: Highlights. Retrieved from http://population.un.org/wpp/Publications/Files/WPP2019_10Key findings.pdf.