การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

Main Article Content

ทิวาพร เกษสร, พย.บ.

บทคัดย่อ

ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ( Preeclampsia with severe feature ) เป็นภาวะที่พบในหญิงตั้งครรภ์    เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ เกิดหลังตั้งครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ โดยความดันโลหิตที่สูงกว่า 160/110 มิลลิเมตรปรอท จากการวัดความดันโลหิตห่างกัน 2 ครั้ง อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว    เจ็บหรือจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาจมีอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้น และสามารถทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ   ไตหรือตับทำงานผิดปกติ การชัก หรืออาจถึงขั้นคุณแม่และทารกเสียชีวิตได้ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง 2 ราย เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบการศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง ที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกตการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจลำบาก  พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดงการรักษา ปัญหาและ      ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลการวางแผนการจำหน่ายและการดูแลเชิงเนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า รายที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ อายุ 39 ปี มารดา G4P2A1L2 last child 3 ปี LMP เมื่อวันที่    27 เมษายน 2565 , EDC 1 กุมภาพันธ์ 2566,  GA 38 สัปดาห์ มาด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด ไม่มีน้ำเดิน 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับวัดสัญญาณชีพ HR 100 /min , RR 20 /min , BP 174/105 mm.Hg ,Pain Scor 7 คะแนน    ไม่มีอาการปวดศีรษะ ไม่มีตาพร่ามัว ได้รับการวินิจฉัย Preeclampsia with feature รายที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ อายุ 31 ปี มารดา G3P1A1L1 last child 2 ปี LMP 24 พฤษภาคม 2565 , EDC 28 กุมภาพันธ์ 2566  GA 35+6 สัปดาห์ มาด้วยตรวจครรภ์ตามปกติ พบว่า BP 158/105 mm.Hg , วัด BP ครั้งที่ 2 164/111 ไม่มีอาการปวดศีรษะ ไม่มีตาพร่ามัว ได้รับการวินิจฉัย Preeclampsia with feature


สรุปผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาผู้ป่วยตั้งแต่แรก ตั้งครรภ์ การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์  จนกระทั่งการคลอด ประเมินสัญญาณชีพเมื่อมาตรวจครรภ์  มารับการคลอดและหลังคลอด ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องการดูแลสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษ มาตรวจครรภ์ตามนัด สังเหตอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มือเท้าบวม นำไปปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงได้

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

นันทพร แสนศิริพันธ์, และ ฉวี เบาทรวง .การพยาบาลและการผดุงครรภ์ :สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.พิมพ์ครั้งที่ 1.เชียงใหม่: บริษัท สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จ้ากัด; 2560.

คณาจารย์สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุด วิชาการพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์ หน่วยที่ 1-6. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556. โครงการสวัสดิการตำรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์. การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะ Dystocia และสูติศาสตร์หัตถการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุรินทร์: โรงพิมพ์ ส.พันธุ์เพ็ญ; 2556.

คณาจารย์สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาการพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์ หน่วยที่ 7-10. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ; 2563.

สมบูรณ์ บุณยเกียรติ. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง 1. กรุงเทพฯ: สินธนา ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์; 2557.