ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ป่วยจิตเวช อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ชนิตา พานจันทร์, พย.บ.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น(Pre-experiment Research)ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้


การปฏิบัติตัว  อาการกำเริบก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการแผนกจิตเวช โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยจิตเวช   ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.617 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย


การทำแบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน 2566-ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน


ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน ได้แก่  Paired  t test  และ McNemar test ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้


            ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 12.10 คะแนน หลังการทดลองคะแนนความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 16.20 คะแนน   เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p -value = 0.00)


ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการปฏิบัติตัวเฉลี่ยเท่ากับ 25.40 คะแนน หลังการทดลองคะแนนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยจิตเภทเฉลี่ยเท่ากับ 33.43 คะแนน  เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p -value 0.000)


ก่อนการทดลองผู้ป่วยจิตเภทมีอาการกำเริบ ร้อยละ 100.00 หลังการให้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ป่วยจิตเวช


พบผู้ป่วยมีอาการกำเริบ ร้อยละ 10.00 สรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ป่วยจิตเวช มีประสิทธิผลดีในด้านการเพิ่มระดับความรู้ การปฏิบัติตัว และลดอาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเภท


               ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ได้แก่      ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและผู้ป่วยจิตเภทควรมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ การปฏิบัติตัว การป้องกันอาการกำเริบของโรคจิตเวช โดยพยาบาลควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมในกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยจิตเวชในคลินิกจิตเวช พร้อมแจกเอกสารความรู้ และช่องทางการบริการจิตเวชฉุกเฉิน   


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ผ่องโต(2555). วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความคิดฆ่าตัวตายใน

ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย.(ออนไลน์).สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41985. (24 ตุลาคม 2566)

กัญญาพิชญ์ จันทร์นิยม(2548)วิจัยเรื่องผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/67711/1/Kanyapid_ja_front_p.pdf. (1พฤศจิกายน 2566)

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล RamaMental.mahidol.ac.th(2562).โรคจิตเภทโดยละเอียด.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttps://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-0855. (23 ตุลาคม 2566)

ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็ม( Orem’s self-care Theory ). (ออนไลน์).สืบค้นจาก(http://teacher.ssru.ac.th/thitavan_ho)( 23 ตุลาคม 2566)

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม.(2554).(ออนไลน์)สืบค้นจาก

https://weblogsimple.blogspot.com/2011/08/blog-post_21.html. (30 ตุลาคม 2566)

ทานตะวัน แย้มบุญเรือง(2540).ผลของการใช้โปรแกรมก่อนการจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/71978/1/Tantawan_ya_front_p.pdf(21 ตุลาคม 2566)

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจและคณะ (2543).แนวการจัดการผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีระ ลีลานันทกิจ.(2541).การบริหารจัดการและรักษาผู้ป่วยก้าวร้าวและรุนแรงกับความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคคลากร.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงรบ เทียนสันต์(2556)วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวร่วมกับการให้สุขภาพจิตศึกษาต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.(ออนไลน์).สืบค้นจาก

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43365. (20 ตุลาคม 2566)

นพรัตน์ ไชยชำนิ(2544) วิจัยเรื่องผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ดูแลแบบองค์รวม ต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/65187/1/Nopparat_ch_front_p.pdf(29 ตุลาคม 2566)

แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง(Serious Mental Illness With High Risk to Violence)สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาลจิตเวช ในสังกัดกรมสุขภาพจิต.(2555).(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://www.skph.go.th/newskph/News_file/mn_general_news/SeriousMentalIllness.pdf.

(29 ตุลาคม 2566)

น้ำทิพย์ ไกรทอง(2559).วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่มีอาการทางลบ.(ออนไลน์).สืบค้นจาก

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55105. (26 ตุลาคม 2566)

บุญเยี่ยม คำชัย(2554). วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว(ออนไลน์).สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29375. (26 ตุลาคม 2566)

บัวลอย แสนละมุล,ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์(2557).ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ป่วยจิตเวช.(ออนไลน์).สืบค้น

จาก http://fammed.kku.ac.th/file_download/paper_18.pdf.(3 พฤจิกายน 2566)

พยุงจิต วรมุนินทร(2549).วิจัยเรื่องผลของการใช้กระบวนการสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัวเพื่อการรักษา

ที่มีต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/simple-search?query.(26 ตุลาคม 2566)

พรทิพย์ ไขสะอาด(2558).วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่ออาการทางจิตของผู้ป่วย

จิตเภท(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37535.(20 ตุลาคม 2566)

มณฑา ปิ่นวิเศษ(2558).วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท

(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50741.(21 ตุลาคม 2566)

วารุณี แสงเมฆ(2555).ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของครอบครัว ตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63929.

(2พฤศจิกายน 2566)

สุชาดา เวชการุณา(2556).วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวที่เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล(ออนไลน์).สืบค้นจาก

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43724 (27 ตุลาคม 2566)

สุวิมล สมัตถะ(2541).ผลของการใช้แบบแผนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านต่อความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเวช.(ออนไลน์).สืบค้นจาก http://fammed.kku.ac.th/file_download/paper_18.pdf.(26 ตุลาคม 2566)

สมกมล อรรคทิมากุล(2556).วิจัยเรื่องผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วย

จิตเภท.(ออนไลน์).สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52730. (21 ตุลาคม 2566)

สมลักษณ์ เขียวสดและคณะ(2555).วิจัยเรื่องผลของการใช้โปรแกรมให้ความรู้แบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง

ของผู้ป่วยจิตเภท.(ออนไลน์).สืบค้นจาก

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/18004(3 พฤศจิกายน 2566)

อณิมา จันทร์แสน(2558).วิจัยเรื่องผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วย

จิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49938.

(20 ตุลาคม 2566)