การเสริมสร้างพลังของแกนนำชุมชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังของแกนนำชุมชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัยเป็นแบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาตามที่ผู้วิจัยกำหนด กลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 8 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลตามตัวแปรโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติpaired t-test แลละระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการศึกษาพบว่า ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู พฤติกรรม การับรู้ความสามารถของตนเอง ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ค่าดัชนีบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย และค่าดัชนีภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองแสดงว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังของแกนนำชุมชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
หนังสือ
จีระพรรณ สุขศรีงาม, ชีวสถิติ. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์,2542.
จิรศักดิ์ เจริญพันธ์และเฉลิมพล ตันสกุล. (2550). พฤติกรรมสุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม:คลังนานาวิทยา.
นิตยา เพ็ญสิรินภา (2540). คู่มือการจักกิจกรรมฝึกอบรมการสร้างพลัง (Empowerment). เอกสารประกอบการอบรมวิทยากรอกนนำเอดส์อุบัติเหตุสารเสพติด วันที่ 7-10 ตุลาคม 2540.พิจิตร: ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร.
พวงทอง ป้องภัย. พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.2540.
สุปรียา ตันสกุล.(2548) . ทฤษฎีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศสาตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ยุทธรินทร์การพิมพ์.
อรุณ จิรวัฒน์กุล.(2551) . ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่3. ขอนแก่น:
คลังนานาวิทยา.
E-book
กระทรวงสาธารณสุข. (2551). การประชุมปฏิบัติการการสนับสนุนบทบาท อสม.ในการควบคุมป้องกันโรค . วันที่สืบค้นข้อมูล 12 พฤศจิกายน 2566 เข้าถึงได้จาก
https://phc.moph.go.th/www-hss/data_center/col_mod/
การป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง.(2558). เทคนิคการสำรวจลูกน้ำยุงลาย. วันที่สืบค้นข้อมูล12 พฤศจิกายน 2566 เข้าถึงได้https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000319/word/2562_01/DHF62/2.doc
รายงานการวิจัย
จันทิมา วิชกูล. (2551). ผลของการสร้างพลังแกนนำครอบครัวโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก.วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
จรูญศักดิ์ หวังล้อมกลาง, (2552).ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จำรัส ศรีปัตตา,(2547).การสร้างพลังชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จงรักษ์ ณ หนองคาย. (2547). การสร้างพลังชุมชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มประชาชนจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสารคาม.
ดวงชีวัน จิราโรจน์หนองคาย. (2547). ผลของการสร้างพลังพลังชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพยเนตร รวยนิรัตน์.(2551) ผลของการสร้างพลังชุมชนเพื่อป้องกันไข้หวัดนก จังหวัดชลบุรี.
วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปฐมพร พริกชู.(2544) . การสร้างพลังชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปวิตรา สุทธิธรรม.(2554) . ผลของโปแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศสาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัสกร สงวนชาติ.(2554) . ผลของการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์ปริญยาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พงษ์ศักดิ์ ธนวชิรกุล.(2550) . ผลของการสร้างพลังแกนนำชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนเมือง อำเภอสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ราชภัชนครราชสีมา.
ไมตรี ธนาวัฒนะ.(2547) . ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำชุมชน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุทธพงษ์ ภามาศ.(2553) . การสร้างพลังประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัญชลี ชัยมงคล.(2550) . การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.