ปัจจัยต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคขณะทำการรักษาในโรงพยาบาลกันทรารมย์

Main Article Content

มยุรา ผาสุขนิตย์, พ.บ.

บทคัดย่อ

                  วัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในประเทศไทย ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ตอการเสียชีวิตโดยวัณโรค จะช่วยพัฒนาคุณภาพการรักษาวัณโรคและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ในที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต หาสาเหตของการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอดขณะทำการรักษาในโรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาเป็นการศึกษา   แบบย้อนหลัง (Retrospective study) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับการตรวจรักษาในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษในช่วงเดือนตุลาคม  พ.ศ.2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2565 โดยใช้ การวิเคราะห์พหุตัวแปร (Multivariate analysis) ที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence intervals) และ  นำค่าความสัมพันธ์ที่ได้มาประเมินหาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์และปัจจัยทางดานคลินิกที่มีผลตอการเสียชีวิต   ของผู้ป่วยโดยทำการศึกษา ณ คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ


            ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วย 277 รายที่เข้าร่วมการศึกษา เสียชีวิต 62 ราย (ร้อยละ 22.38) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดขณะรับการรักษา คือ ผู้ป่วยสูงอายุ (AOR:10.9, 95%CI:3.1-33.5, p-value =0.001) , ผู้ป่วยเสมหะพบเชื้อ (AOR:2.8, 95%CI:4.0-34.4, p-value=0.001) , มีโรคร่วม (AOR:3.5, 95%CI: 3.8-37.4, p-value=0.001) , การติดเชื้อเอชไอวี (AOR:12.1, 95%CI:4.2-35.8, p-value=0.001) และการที่ผู้ป่วยเกิดภาวะตับอักเสบหลังจากได้รับการรักษาวัณโรค (AOR: 12.8,95%CI:1.9-81.4, p-value= 0.007)


            การศึกษานี้สรุปว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษาเกิดจากผู้ป่วยสูงอายุ การมีโรคร่วม ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ การติดเชื้อเอชไอวี และการที่ผู้ป่วยเกิดภาวะตับอักเสบหลังจากได้รับการรักษาวัณโรค และ    การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอดขณะทำการรักษาเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย การคัดกรอง, การวินิจฉัย และการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ป และกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมสามารถช่วยลดการเสียชีวิตในผู้ป่วยเหลานี้ได้นอกจากนี้การติดตามอาการไม่พึงประสงคจากยาวัณโรค เชน การเกิดภาวะตับอักเสบ ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะชวยลดการเสียชีวิตได้เชนกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). รายงานประจำปี 2565.

กรีฑา ธรรมคำภีร์. (2562). การตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ. ใน กรีฑา ธรรมคำภีร์ (บรรณาธิการ), วัณโรคปอดในศตวรรษที่ 21: Pulmonary Tuberculosis in the 21th Century (หน้า 85-101). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

เจริญศรี แซ่ตั้ง. (2560). ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค, 43(4),436-447.

นิธิพัฒน์ เจียรกุล. (2561). วัณโรค.ในนิธิพัฒน์ เจียรกุล (บรรณาธิการ), ตำราโรคระบบการหายใจ (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 328-347). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

วรางคณา กีรติชนานนท์. (2562). การรักษาวัณโรคในกรณีพิเศษ. ใน กรีฑา ธรรมคำภีร์ (บรรณาธิการ),วัณโรคปอดในศตวรรษที่ 21: Pulmonary Tuberculosis in the 21th Century (หน้า 189-217). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์.(2559).สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(1), 22-34.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัจฉรา รอดเกิด. (2562). สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 33(1), 91-102.

อัมพาพันธุ์ วรรณพงษ์, กิตติกาญจน์ มูลฟอง. (2560). ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน.วารสารสาธารณสุขลานนา, 13(2), 72-85.

Akksilp S, Karnkawinpong O, Wattanaamornkiat W, Viriyakitja D, Monkongdee P, Sitti W, et al. (2017). Antiretroviral therapy during tuberculosis treatment and marked reduction in death rate of HIV-infected patients. Thailand Emerg Infect Dis, 13, 1001-1007.

Alavi-Naini R, Moghtaderi A, Metanat M, Mohammadi M, Zebetian M. (2018) Factors associated with mortality in tuberculosis patients. J Res Med Sci, 18, 52-55.

American Diabetes Association. (2553,). Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Detes Care, 33 (Suppl 1), s62- s69.

Anyama N, Bracebridge S, Black C, Niggebrugge A, Griffi n SJ. (2017) What happens to people diagnosed with tuberculosis? A population-based cohort. Epidemiol Infect, 135(7), 1069- 1076.

Department of Disease Control. (2562). The important measure and activities to control tuberculosis 2014- 2018. Bangkok:Department of Disease Control.

Doherty MJ, Spence DP, Davies PD. (2020). Trends in mortality from tuberculosis in England and Wales: effect of age on deaths from non-respiratory disease. Thorax, 50, 976-979.

Ellard GA, Mitchison DA, Girling DJ, Nunn AJ, Fox W. (2017) The hepatic toxicity of isoniazid among rapid and slow acetylators of the drug. Am Rev Respir Dis, 118, 628-629.

Hansel NN, Meriman B, Haponik EF, Diette GB. (2019) Hospitalizations for tuberculosis in the United States in 2000:predictors of in-hospital mortality. Chest, 126, 1079-1086.

Horne DJ, Hubbard R, Narita M, Exarchos A, Park DR, Goss CH. (2010) Factors associated with mortality in patients withTuberculosis.BMC Infect Dis, 10(1), 258. Availableat:URL: http://www.biomedcentral .com/1471- 2334/10/258. Accessed Dec 28,2023.

Khan K, Campbell A, Wallington T, Gardam M. (2016) The impact of physician training and experience on the survival of patients with active tuberculosis.., 175(7), 749-753.

Krittiyanant S, Sakulbamrungsil R, Wongwiwat-thananukit S, Suthiputthanangoon W. (2016). Risk factors of antituberculosis drug-induced hepatotoxicity in Thai patients.Thai J Pharm Sci, 26:121-8.

Leung CC, Yew WW, Chan CK, Chau CH, Tam CM, Lam CW, et al. (2019). Tuberculosis in older people: a retrospective and compa-rative study from Hong Kong. J Am Geriatr Soc, 50, 1219-1266.

Manosuthi W, Chottanapad S, Thongyen S, Chaovavanish A,Sungkanuparph S. (2016). Survival rate and risk factors of mortality among HIV/tuberculosis co- infected patients with and without antiretroviral therapy. J Acquir Immune Defi cSyndr;13, 42-46.

Mathew TA, Ovsyanikova TN, Shin SS, Gel-manova I, Balbuena DA, Atwood S, et al .(2019) Cause of death during tuberculosis treatment in Tomsk Oblast, Russia. Int J Tuberc Lung Dis, 10, 542-

Pablos-Mendez A, Sterling TR, Frieden TR .(2019). The relationship between delayed or incomplete treatment and all-cause mortality in patients with Tuberculosis. JAMA, 276(11), 1223-1228.

Perez-Guzman C, Vargas MH, Torres-Cruz A, Villarreal-velarde H. (2020) Does aging modify pulmonary tuberculosis?: A meta-analytical review. Chest, 116, 96.

Saiyud Moolphate, Myo Nyein Aung, Oranuch Nampaisan, et al. (2016). Time of highest tuberculo-sis death risk and associated factors: an ob-servation of 12 years in Northern Thailand. Int J Gen Med, 4, 181–190.

Sanguanwongse N, Cain KP, Suriya P. (2018). Antiretroviral therapy for HIV-infected tuberculosis patients saves lives but needs to be used more frequently in Thailand. J Acquir Immune Defi cSyndr; 48, 181-189.

Sei Wan Lee, Young Ae Kang, Young Soon Yoon. (2018). The Prevalence and Evolution of Anemia Associated with Tuberculosis. J Korean Med Sci, 21, 1028-1032.

Sterling TR, Zhao Z, Khan A, Chaisson RE, Schluger N, Mangura B, et al. (2019). Mortality in a large tuberculosis treatment trial:Modifi able and non- modifi a ble-risk factors. Int J Tuber Lung Dis, 10(5), 542-549.

Wang, JY, Liu, C. H. , Hu, FC, Chang, HC, Liu, JL, & Chen, JM (2018) Risk factors of hepatitis during anti-tuberculosis treatment and implications of hepatitis virus load. J Infect,62, 448-455.

World Health Organization Global tuberculosis report 2013. (2013).Available at:URL:http:// who.int/ tb/publications/global_ report/en/. Accessed Jan 15,2014..

World Health Orgaization. Global tuberculosis report 2020. Geneva: World Health Orgaization; 2020.

Yamane, Taro. (1976). Statistic: An Introduction Analysis. 2 nd Ed.. New York : Harper and Row.