ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีชื่อในทะเบียนราษฎร์และอาศัยอยู่ในเขตตำบลกระแชงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 334 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุตำบลกระแชง พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 10.2 มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 0.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ ความพอเพียงของรายได้ ปัจจัยด้าสุขภาพ คือ การรับรู้สภาวะสุขภาพ การออกกำลังกาย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปัจจัยด้านจิตวิทยา คือ ความหว้าเหว่ ความผาสุกทางใจ และปัจจัยด้านสังคม คือ เหตุการณ์วิกฤติในชีวิตและการเกื้อหนุนทางสังคม ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือ ความว้าเหว่ รองลงมา คือ การรับรู้สภาวะสุขภาพ ความผาสุกทางใจ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และความพอเพียงของรายได้ตามลำดับ โดยสามารถทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 26.9 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนในการดูแลและรักษาผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กองทุนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (LTC) ตำบลกระแชง. (2566).รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566. ศรีสะเกษ.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). อย่างไรถึงเรียกว่าโรคซึมเศร้า. สืบค้น 2 ตุลาคม 2566. จาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ ramamental/generalknowledge/05282014-0857.
ชัดเจน จันทรพัฒน์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุใน โรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้ของไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 12(2):80-92.
บัณฑูร ลวรัตนากร. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 30(2):13-23.
ประอรทิพย์ สุทธิสาร. (2550). ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลหนองคาย (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผกามาศ เพชรพงศ์. (2562). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 13(2):25-36.
พรทิพย์ แก้วสว่าง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธืกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานควบคุมโรคที่ ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี, 19(3):36-48.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. นนทบุรี : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สมศักดิ์ ชุณหรัศน์. (2551). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2550. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวพี จำกัด.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี : บริษัท แฮนดี เพรส จำกัด.
สำนักงานสถิติจังหวัดศรีสะเกษ. (2561). จำนวนประชากรสูงอายุจังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้น 2 ตุลาคม 2566. จาก : https://twitter.com/sisaket_nso.
สำนักทะเบียนอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (2566). รายงานสถิติประชากรระดับตำบล. ศรีสะเกษ.
สำนักทะเบียนอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (2566). รายงานสถิติประชากรแยกรายหมู่บ้าน. ศรีสะเกษ.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อักษากราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สุจรรยา แสงเขียวงาม. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
สุรเดชช ชวะเดช. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3): 174-181.
โสภิณ แสงอ่อน พรเพ็ญ สำเภา และพรทิพย์ มาลาธรรม. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพสัมพันธภาพในครอบครัว ความว้าเหว่ และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 13(1):54-68.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, สุชาติ พันธุ์ลาภ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนชานเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 3(3):25-36.
Kelley K, Maxwell SE. (2003). Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychol. Methods 2003; 8(3): 305–21.
Orth, U., Robins, R. W., Trzesniewski, K. H., Maes, J., Schmitt, M. (2009). Low self-esteem is a risk factor for depressive symptoms from young adulthood to old age. Journal of Abnormal Psychology 2009; 118(3),472–478.
World Health Organization: WHO. (2017). Atlas: Mental health resources in the world 2001. Retrieved 2 October 2023, from : https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/66910/WHO_NMH_ MSD_MDP_01.1.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
World health report 2008. (2008). Child and maternal survival. Geneva, World Health Organization.
World Health Organization. (2017). Depression and other common mental disorders: global health estimates 2017. Retrieved 2 October 2023, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/ 10665/2546/10/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf?sequence=1